Eloquent ORM คือการที่เราจำลองตารางเป็นคลาสแล้ว เรียกใช้งานเป็นชื่อของตาราง นั้นเลยทำให้เข้าใจการพัฒนารวดเร็วขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น ที่เรียกว่า Eloquent เพราะตัวมันมีความเรียบง่าย
เริ่มต้นด้วยการสร้าง moedel ไว้ที่โฟลเดอร์ app/models
ตัวอย่างการสร้าง model
class User extends Eloquent {}
ถ้าคลาสนี้จะไม่ใช้ตารางตามชื่อ model เราก็สามารถใช้ตัวแปร table
ในการกำหนดชื่อตารางที่เราจะใช้ เหมือนในตัวอย่าง
class User extends Eloquent {
protected $table = 'my_users';
}
หมายเหตุ: Eloquent จะถือว่าคอลัมน์
id
เป็นคีย์หลักเสมอ เราสามารถใช้ตัวแปรprimaryKey
เพื่อกำหนดคีย์หลักได้เอง และเช่นเดียวกัน เราสามารถใช้ตัวแปรconnection
เพื่อกำหนดฐานข้อมูลที่เราจะใช้ใน model นี้
ถ้าในตารางของเรามีคอลัมน์ที่ชื่อ updated_at
กับ created_at
จะถูกใช้ในการเก็บเวลาที่ข้อมูลในแถวนี้ถูกเพิ่มหรือแก้ไข. ถ้าเราไม่ต้องการเพียงแค่ตั้งค่าตัวแปร $timestamps
ให้เป็น false
การคิวรี่โดยใช้ eoloquent
ค้นหาข้อมูลทั้งหมดจากตาราง user
$users = User::all(); //
ค้นหาตามเงื่อนไข
ค้นหาโดยค่า id เท่ากับ 1
$user = User::find(1); //
แสดงค่าในคอลัมน์ออกมา
var_dump($user->name); //
Note: ทุกคำสั่งที่ใช้ใน query builder สามารถใช้กับ eloquent ได้เช่นกัน
การคิวรี่แล้วส่งต่อ
บางเวลาเมื่อค้นหาเเล้วไม่เจอเราต้องการให้เกิดหน้าแสดงข้อผิดพลาดขึ้นมา สามารถใช้ฟังก์ชัน findOrFail
เหมือนในตัวอย่างเลยครับ ถ้าค้นไม่เจอเราจะส่งไปหน้า 404 ทันที
$model = User::findOrFail(1);
$model = User::where('votes', '>', 100)->firstOrFail();
อยากจะสร้างการแสดงข้อผิดพลาดโดยที่เรากำหนดเองก็สามารถทำตามตัวอย่างเลยครับ สมมุติเราจะสร้างฟังก์ชัน ModelNotFoundException
เราก็เรียกตัวคลาสหลักเข้ามาก่อน
use Illuminate\Database\Eloquent\ModelNotFoundException;
App::error(function(ModelNotFoundException $e)
{
return Response::make('Not Found', 404);
});
ตัวอย่างการคิวรี่แบบหลายเงื่อนไข
$users = User::where('votes', '>', 100)->take(10)->get();
foreach ($users as $user)
{
var_dump($user->name);
}
Eloquent Aggregates
$count = User::where('votes', '>', 100)->count();
ถ้าเราอยากเขียนคำสั่งคิวรี่ ขึ้นมาใช้เองก็ต้องใช้ฟังก์ชัน whereRaw
$users = User::whereRaw('age > ? and votes = 100', array(25))->get();
เราสามารถส่ง ค่าจำนวนมากอย่างเช่น อาเรย์ ลงฐานข้อมูลได้ง่ายๆ แต่ต้องใช้ตัวแปร
fillable
เพื่อกำหนดว่าคอลัมน์ไหนที่สามารถใส่อาเรย์ได้
guarded
เพื่อกำหนดว่าคอลัมน์ไหนใส่อาเรย์ลงไปไม่ได้
ตัวอย่างการกำหนดค่า fillable
class User extends Eloquent {
protected $fillable = array('first_name', 'last_name', 'email');
}
ตัวอย่างการตั้งค่าตัวแปร guard
class User extends Eloquent {
protected $guarded = array('id', 'password');
}
ต้วอย่างคอลัมน์ id
and password
เราจะไม่อนุญาติให้ทำการใส่ค่าที่มาในรูปแบบอาเรย์ลงไป
การป้องกันไม่ให้ทำการเพิ่มข้อมูลเป็นอาเรย์
protected $guarded = array('*');
ตัวอย่างการแก้ไขข้อมูลแบบไม่ใช้ namespace
$user = new User;
$user->name = 'John';
$user->save();
หมายเหตุ: โดยเริ่มต้น laravel จะทำการเพิ่มค่าคีย์หลักให้อัตโนมัติ ถ้าเราไม่ต้องการก็ตั้งค่าตัวแปร
incrementing
ใน model ให้เป็นfalse
.
เราสามารถใช้คำสั่ง create เพื่อสร้างข้อมูลใหม่ได้ แต่ก่อนหน้านั้นต้องกำหนดตัวแปร fillable
หรือ guarded
ไม่งั้นเพิ่มไม่ได้ติด error
การสร้างข้อมูลใหม่
$user = User::create(array('name' => 'John'));
ตัวอย่างการแก้ไขข้อมูล
$user = User::find(1);
$user->email = '[email protected]';
$user->save();
บางเวลาเราต้องบันทึกค่าในตารางที่อ้างอิงกัน เราจะใช้คำสั่ง push
บันทึกค่าพร้อมกับบันทึกลงตารางที่มีการเชื่อมกันอยู่
$user->push();
ตัวอย่างการลบข้อมูล
$user = User::find(1);
$user->delete();
ลบโดยกำหนด id เป็นเงื่อนไข
User::destroy(1);
User::destroy(1, 2, 3);
ตัวอย่างการลบแบบมีเงื่อนไข:
$affectedRows = User::where('votes', '>', 100)->delete();
ถ้าเราต้องการแก้ไขเฉพาะคอลัมน์ที่ใช้บันทึกเวลา เราจะใช้คำสั่ง touch
ตัวอย่างการใช้งาน
$user->touch();
เราสร้างตัวแปร $softdelete
เพื่อบอก model ว่าไม่ต้องลบจริง เหมือนกับเราเอาไปเก็บไว้ในถังขยะก่อน ยังไม่ได้เอาไปเผาทิ้งจริงๆ
class User extends Eloquent {
protected $softDelete = true;
}
แล้วก็เพิ่มคอลัมน์ deleted_at
ลงในตาราง เพื่อกำหนดว่าข้อมูลแถวนี้ถูกลบแล้วหรือยัง
เมื่อเราเรียกคำสั่ง delete
กับ model นี้คอลัมน์ deleted_at
จะถูกเพิ่มค่าให้เป็นวันเวลาที่เราลบ เมื่อเราค้นหาข้อมูลโดยใช้ model นี้ข้อมูลแถวที่เราทำการ
ลบจะไม่ถูกดึงขึ้นมา
ตัวอย่างการค้นหา โดยรวมแถวที่ถูกตั้งค่าว่าลบแล้ว
$users = User::withTrashed()->where('account_id', 1)->get();
ตัวอย่างการค้นหา โดยค้นหาเฉพาะแถวที่ถูกตั้งค่าว่าลบแล้ว
$users = User::onlyTrashed()->where('account_id', 1)->get();
ถ้าต้องการยกเลิกการลบ ใช้คำสั่ง restore
ได้เลยครับ
$user->restore();
หรือจะเรียกคืนเฉพาะแถวก็ตามตัวอย่างนี้เลย
User::withTrashed()->where('account_id', 1)->restore();
ฟังก์ชัน restore
สามารถใช้กับความสัมพันธ์ได้ด้วย
$user->posts()->restore();
ถ้าต้องการลบข้อมูลจริงๆ ก็ใช้คำสั่ง forceDelete
$user->forceDelete();
คำสัง forceDelete
ก็สามารถใช้กับความสัมพันธ์ก็ได้
$user->posts()->forceDelete();
ฟังก์ชัน trashed
ใช้ในการตรวจว่าโมเดลนี้มีการตั้งค่า softdelete ไว้ไหม
if ($user->trashed())
{
//
}
โดยค่าเริ่มต้น laravel ใช้คอลัมน์ created_at
และ updated_at
ในตารางของเราโดยอัตโนมัติ.
ตัวอย่างการยกเลิกการเก็บเวลาในการจัดการข้อมูล
class User extends Eloquent {
protected $table = 'users';
public $timestamps = false;
}
ฟังก์ชัน freshTimestamp
ใช้ในการกำหนดรูปแบบวันเวลาที่เราจะเก็บ
ตัวอย่างการใช้งาน
class User extends Eloquent {
public function freshTimestamp()
{
return time();
}
}
เราใช้คำนำหน้าฟังก์ชันว่า scope
เพื่อทำการสร้างฟังก์ชันที่ใช้คิวรี่แบบเฉพาะของเราเอง:
ตัวอย่างการใช้งาน scope
class User extends Eloquent {
public function scopePopular($query)
{
return $query->where('votes', '>', 100);
}
}
การใช้งานคิวรี่ที่มาจาการใช้คำสั่ง scope
$users = User::popular()->orderBy('created_at')->get();
การจัดการความสัมพันธ์ตารางใน laravel มี 4 รูปแบบ
- 1 ต่อ 1
- 1 ต่อ กลุ่ม
- กลุ่ม ต่อ กลุ่ม
- ความสัมพันธ์แบบซับซ้อน
ตัวอย่างความสัมพันธ์แบบ 1 ต่อ 1 ผู้ใช้งานมีโทรศัพท์ได้เเค่เครื่องเดียว
ตัวอย่างความสัมพันธ์แบบ 1 ต่อ 1
class User extends Eloquent {
public function phone()
{
return $this->hasOne('Phone');
}
}
เราใช้ฟังก์ชันเป็นตัวกำหนดตารางที่เราจะเชื่อมด้วย ตัวอย่างข้างล่างการค้นหาโทรศัพท์ของผู้ใช้งานที่มี id เท่ากับ 1
$phone = User::find(1)->phone;
ถ้าเขียนเป็น php ธรรมดาก็จะได้เเบบนี้ครับ
select * from users where id = 1
select * from phones where user_id = 1
โดยค่าเริ่มต้นเเล้ว Eloquent จะใช้คอลัมน์ user_id
ในตาราง Phone
เป็น คีย์เชื่อม ถ้าเราไม่เอา จะเอาชื่อที่เราตั้งเองก็ใช้ตัวแปร hasOne
เป็นตัวแก้ดังตัวอย่าง
return $this->hasOne('Phone', 'custom_key');
ในการเชื่อมโมเดลสิ่งที่สำคัญคือการตั้งค่าความสัมพันธ์ให้ตรงกันใน Phone
model เราก็จะใช้ฟังก์ชัน belongsTo
ในการเชื่อมกลับไปยัง User
ตัวอย่างการเชื่อมกลับไปยัง User Model
class Phone extends Eloquent {
public function user()
{
return $this->belongsTo('User');
}
}
เหมือนกับข้างบนครับ เราไม่เอา user_id
เป็นคีย์เชื่อมก็ต้องกำหนดด้วย ตามตัวอย่าง
class Phone extends Eloquent {
public function user()
{
return $this->belongsTo('User', 'custom_key');
}
}
ความสัมพันธ์แบบ 1 ต่อ กลุ่ม มีตัวอย่างคือ 1 โพสมีได้หลาย ความคิดเห็น ตัวอย่างการใช้ hasMany
class Post extends Eloquent {
public function comments()
{
return $this->hasMany('Comment');
}
}
ตัวอย่างการค้นหาตารางที่เชื่อมกันอยู่
$comments = Post::find(1)->comments;
ตัวอย่างการค้นหาแบบหลายเงื่อนไขครับ ดังตัวอย่าง เราจะค้นหาความคิดเห็นที่มี title ชื่อ foo โดยเอาค่าเเรกที่เจอก่อน
$comments = Post::find(1)->comments()->where('title', '=', 'foo')->first();
อีกครั้ง อย่าลืมเชื่อมกลับไปยังตารางที่เชื่อมมานะครับ
ตัวอย่างอีกครั้ง
class Comment extends Eloquent {
public function post()
{
return $this->belongsTo('Post');
}
}
กลุ่มต่อกลุ่ม จะเป็นความสัมพันธ์ที่ยุ่งยากพอสมควรเลยครับ เรามีตัวอย่างคือ ผู้ใช้งานมีสิทธิการใช้งานได้หลายสิทธิ์ ทั้งเรียกดู,ลบ,แก้ไข,เพิ่ม แล้วแต่ละสิทธิ์ก็ถูกใช้ได้ในหลายผู้ใช้งาน เราต้องมี 3 ตาราง users
, roles
, กับ role_user
. ตาราง role_user
จะเก็บ user_id
กับ role_id
เพื่อบอกว่า ผู้ใช้งานคนนี้มีสิทธิทำอะไรได้บ้าง
laravel ใช้ฟังก์ชัน belongsToMany
ในการเชื่อมความสัมพันธ์:
class User extends Eloquent {
public function roles()
{
return $this->belongsToMany('Role');
}
}
ตอนนี้เราสามารถตรวจได้เเล้วว่าผู้ใช้งานหมายเลข 1 มีสิทธิทำอะไรได้บ้าง
$roles = User::find(1)->roles;
ถ้าเราต้องการใช้ชื่อตาราง ตามใจเราก็สามารถทำได้โดยการ ส่งพารามิเตอร์ไป ดังตัวอย่างครับ
return $this->belongsToMany('Role', 'userroles');
หรือจะเปลี่ยนไปจนถึงชื่อคอลัมน์เลยก็ได้ แต่ต้องส่งชื่อ คอลัมน์ที่เราตั้งเองไปบอก model ด้วย
return $this->belongsToMany('Role', 'userroles', 'user_id', 'foo_id');
อย่าลืมเชื่อมความสัมพันธ์กลับมาด้วยนะครับ
class Role extends Eloquent {
public function users()
{
return $this->belongsToMany('User');
}
}
เพื่อช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นจะมีตัวอย่างมาให้ดูกันครับ ตัวอย่างโครงสร้างตาราง
staff
id - integer
name - string
orders
id - integer
price - integer
photos
id - integer
path - string
imageable_id - integer
imageable_type - string
มันพิเศษตรงที่คอลัมน์ imageable_id
กับ imageable_type
ของตาราง photos
ที่เราจะใช้เก็บคีย์ที่ใช้เชื่อมตาราง photo เข้ากับตาราง staff หรือ order ใช้เก็บคีย์เชื่อมร่วมกันได้ โดยใช้คอลัมน์ เมื่อเรากำหนดคีย์เชื่อมและชื่อของตารางที่เชื่อมไป ORM จะทำการตรวจสอบโดยใช้คอลัมน์ที่ imageable_type
ในการหาว่าคีย์นี้เป็นของตารางไหน โดยเราต้องตั้งชื่อฟังก์ชันว่า imageable
เราต้องประกาศ model แบบนี้ครับ
class Photo extends Eloquent {
public function imageable()
{
return $this->morphTo();
}
}
class Staff extends Eloquent {
public function photos()
{
return $this->morphMany('Photo', 'imageable');
}
}
class Order extends Eloquent {
public function photos()
{
return $this->morphMany('Photo', 'imageable');
}
}
ตอนนี้เราสามารถใช้ id ของ staff หรือ order มาค้นหารูปภาพได้
ตัวอย่าง
$staff = Staff::find(1);
foreach ($staff->photos as $photo)
{
//
}
ความพิเศษจริง ๆอยู่ที่เมื่อเราใช้ Photo
model ในการค้นครับ
ตัวอย่าง
$photo = Photo::find(1);
$imageable = $photo->imageable;
ความสัมพันธ์ที่ชื่อ imageable
บน model Photo
จะส่งข้อมูลของทั้ง Staff
และ Order
หรือตารางใดตารางหนึ่ง ขึ้นอยู่กับค่าที่เราใช้ค้นหาจะไปตรงกับ model ไหน
เราสามารถจำกัดผลการค้นหาด้วยฟังก์ชัน has
ค้นหาโดยจำกัดเฉพาะความสัมพันธ์
$posts = Post::has('comments')->get(); // เลือกข้อมูลของตาราง post โดยเอาเฉพาะที่มี comment
You may also specify an operator and a count:
$posts = Post::has('comments', '>=', 3)->get(); // เลือก post ที่มี comment มากกว่าหรือเท่ากับ 3
Eloquent ทำให้เราสามารถค้นหาแบบต่อเนื่องโดย พยายามให้เราจำกัดขอบเขตการค้นหาให้ได้ลึกลงที่สุดเพื่อให้ได้เฉพาะข้อมูลที่ต้องการจริงๆ และพลิกแพลงรูปแบบของฟังก์ชันได้มากมาย ดังตัวอย่าง
class Phone extends Eloquent {
public function user()
{
return $this->belongsTo('User');
}
}
$phone = Phone::find(1);
แทนที่เราจะทำแบบข้างบน ซึ่งจะทำให้เราได้ค่าที่ไม่ต้องการออกมามาก เราก็เปลี่ยนมาใช้แบบข้างล่าง เราสามารถเข้าถึง อีเมล์ ของผู้ใช้งาน คนแรกได้เลย
echo $phone->user()->first()->email;
หรือจะให้สั้นได้อีก ก็ทำตามนี้เลยครับ
echo $phone->user->email;
Eager loading มีเพื่อแก้ปัญหาการคิวรี่แบบ N + 1 ตัวอย่างคือ, ผู้เเต่งหนึ่งคนสามารถแต่งหนังสือได้หลายๆ เล่ม ความสัมพันธ์จะออกมาแบบนี้
class Book extends Eloquent {
public function author()
{
return $this->belongsTo('Author');
}
}
แล้วการคิวรี้ที่มีปัญหาก็ประมาณนี้
foreach (Book::all() as $book)
{
echo $book->author->name;
}
1 คิวรี้ จะทำการดึงค่าหนังสือทั้งหมดจากตาราง, แล้วการคิวรี่ครั้งต่อไปก็จะทำเหมือนกัน. ถ้ามีหนังสือ 25 เล่ม,จะมีการคิวรี่ถึง 26 ครั้ง คือเราใช้ข้อมูลทั้งหมดของตารางหนังสือไปค้นหาผูแต่ง 1 ผู้แต่งก็จะไปดึงหนังสือทั้งหมดของเขาออกมา
select * from books
select * from authors where id = ?
นึกถึงเรามีข้อมูลเริ่มต้น 1000 แถว ปัญหานี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับความสัมพันธ์แบบ hasMany เพราะเราต้องนำทั้งหมดไปค้นหาต่อแล้วแต่ละแถวจะได้ผลลัพท์ออกมาหลายๆ แถวจำนวนผลการค้นหาที่มหาศาลจะทำให้การคิวรี่ช้ามากแต่ ซึงถ้าข้อมูลตั้งต้นยังมากกว่านี้ลงไปแต่งคิวรี่เองโดยใช้ Fluent Query Builder แต่ถ้ายังจะใช้ Eloquent ก็ยัง
โชคดีที่ laravel มีฟังก์ชัน with
ใช้ในการทำให้เร็วขึ้น
foreach (Book::with('author')->get() as $book)
{
echo $book->author->name;
}
sql ที่เกิดขึ้นจะมีหน้าตาแบบนี้ครับ เริ่มจากค้นหาหนังสือทั้หมดก่อนแล้ว ค่อยเอา id ที่ได้ไปค้นต่อในตาราง authors เราเปลี่ยนไปใช้ in แทน
select * from books
select * from authors where id in (1, 2, 3, 4, 5, ...)
จะทำให้เว็บของเราโหลดเร็วขึ้นอย่างมากเลยครับ
ตัวอย่าง การใช้ eager loading ในกรณีตารางมีการเชื่อมกับอีกหลายตาราง
$books = Book::with('author', 'publisher')->get();
จะใช้การทำ eager load กับคอลัมน์อื่นได้
$books = Book::with('author.contacts')->get();
In the example above, the author
relationship will be eager loaded, and the author's contacts
relation will also be loaded.
บางเวลาเราต้องการเฉพาะบางคอลัม์จาการทำ eager loading แล้วใส่เงื่อนไขเข้าไปอีก สามารถกำหนดได้ดัังนี้ครับ:
$users = User::with(array('posts' => function($query)
{
$query->where('title', 'like', '%first%');
}))->get();
เราสามารถใช้การทำ eager loading ไปยังตารางที่เชื่อมกันได้เหมือนในตัวอย่างครับ เราเข้าไปค้นต่อไปในตาราง publisher ที่เชื่อมกับตาราง author อีก
$books = Book::all();
$books->load('author', 'publisher');
สมมุตอเราจะเพิ่มความคิดเห็นลงบทความนี้แล้วเราก็ต้องนำ id ของบทความที่เราโพสความคิดเห็นใส่ไปมาใส่ในความคิดเห็นด้วย
ตัวอย่างการเก็บข้อมูลที่ต้องมีความสัมพันธ์
$comment = new Comment(array('message' => 'A new comment.'));
$post = Post::find(1);
$comment = $post->comments()->save($comment);
ในตัวอย่างคอลัมน์post_id
จะถูกใส่ค่าให้อัติโนมัติ
เมื่อเราจะทำการแก้ไขข้อมูลที่มีความสัมพันธ์แบบ กลุ่มต่อหนึ่ง เราต้องใช้ฟังก์ชัน associate
ในการเพิ่มค่าคีย์เชื่อมไปยังตารางที่มีความสัมพันธ์อยู่ด้วย
$account = Account::find(10);
$user->account()->associate($account);
$user->save();
ตัวอย่างคือเราจะทำการเพิ่มความสามารถให้ผู้เราต้อง laravel มีฟังก์ชัน attach
มาให้ใช้เเล้ว
การเพิ่มข้อมูลแบบกลุ่มต่อกลุ่ม
$user = User::find(1);
$user->roles()->attach(1);
ตัวอย่างข้างล่าง เราจะทำการเพิ่มข้อมูลไปยังตารางที่ใช้เชื่อม สามารถส่งเป็นอาเรย์ก็ได้:
$user->roles()->attach(1, array('expires' => $expires));
เมื่อเพิ่มแล้วก็ลบได้ ฟังก์ชัน detach
ใช้ลบค่าในตารางที่ใช้เชื่อม
$user->roles()->detach(1);
เราสามารถใช้ฟังก์ชัน sync
เมทอด เพื่อการเพิ่มค่าไปยังตารางที่เชื่อมอยู่ด้วยได้ ในขณะที่เพิ่มลงในตารางหลัก
ตัวอย่างการใช้ sync กับความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
$user->roles()->sync(array(1, 2, 3));
Aตัวอย่างการใช้ sync กับตารางกลาง
$user->roles()->sync(array(1 => array('expires' => true)));
การใช้เมทอด save
เพื่อทำการเพิ่มข้อมูลงตารางที่เชื่อมกันอยู่
$role = new Role(array('name' => 'Editor'));
User::find(1)->roles()->save($role);
ในตัวอย่างเราสร้าง Role
model แล้วแนบไปกับ User model. แล้วยังสามารถแนบอาเรย์เข้าไปได้อีก
User::find(1)->roles()->save($role, array('expires' => $expires));
ตัวอย่าง เมื่อเราแก้ไขข้อมูลในตาราง Comment เราต้องการแก้ไขข้อมูลในตาราง Post ในแถวที่เชื่อมกันด้วย laravel เตรียมฟังก์ชัน touch
มาให้เเล้ว วิธีการใช้งานในตัวอย่างเลยครับ
class Comment extends Eloquent {
protected $touches = array('post');
public function post()
{
return $this->belongsTo('Post');
}
}
ตอนนี้ถ้าเราทำการแก้ไขข้อมูลในตาราง Comment
, คอลัมน์ updated_at
ข้อมูลในตาราง Post
ที่เชื่อมด้วยก็จะถูกแก้ไขด้วย
laravel เตรียมฟังก์ชัน pivot
มาให้เราใช้ในการจัดการข้อมูลของตารางที่ใช้เชื่อมตรงกลางระหว่างสองตาราง ดังตัวอย่างเลยครับ
$user = User::find(1);
foreach ($user->roles as $role)
{
echo $role->pivot->created_at;
}
คลาส Role
model จะดึงค่าออกมาจากตารางกลาง โดยใช้ฟังก์ชันpivot
โดยอัติโนมัติ
โดยค่าเริ่มต้นแล้วค่าที่ได้จาก ตารางที่เป็นตัวเชื่อมจะมีค่าเดียวที่ใช้อ้างอิงไปยัง อีกตารางคือ id เท่านั้น แต่ถ้าเราต้องการเพิ่ม ก็ต้องเพิ่มไปตอนที่กำหนดความสัมพันธ์แบบในตัวอย่าง
return $this->belongsToMany('Role')->withPivot('foo', 'bar');
ตอนนี้ตัวแปร foo
กับ bar
จะถูกใช้กับฟังก์ชัน pivot
ในการจัดการตาราง Role
และถ้าเราต้องการ คอลัมน์ created_at
กับ updated_at
เพื่อใช้กำหนดเวลา laravel มีฟังก์ชัน withTimestamps
ซึ่งเราต้องกำหนดตอนประกาศความสัมพันธ์ครับ
return $this->belongsToMany('Role')->withTimestamps();
ต่อมาถ้าเราต้องการลบข้อมูลในตารางในตารางกลาง เพื่อความถูกต้องของข้อมูลเราจะใช้ฟังก์ชัน detach
นะครับ
ตัวอย่างการใช้งาน
User::find(1)->roles()->detach();
เราจะทำการแก้ไขไม่ให้ผู้ใช้งานหมายเลข 1 มีสิทธิในการทำอะไรเลย
ข้อมูลที่เป็นผลลัพท์ของการค้นหานั้นจะกลับออกมาเป็น อาเรย์ eloquent อำนวนความสะดวกให้เราโดยมีฟังกชัน contains
ให้ในการตรวจสอบข้อมูล
ตรวจว่าในผลลัพท์ที่ได้มามีข้อมูลที่มีคีย์หลัก เป็น 2 ไหม
$roles = User::find(1)->roles;
if ($roles->contains(2))
{
//
}
เพื่อความสบายของเรายิ่งขึ้นไปอีกเมื่อค้นเสร็จก็เอาเฉพาะค่า role แปลงเป็นอาเรย์ หรือ json เสร็จสรรพเลย
$roles = User::find(1)->roles->toArray();
$roles = User::find(1)->roles->toJson();
แทนที่จะใช้การทำ foreach แบบปกติเหมือนเดิม eloquent มีฟังก์ชัน each กับ filter มาให้ การใช้งาน each และ filter
$roles = $user->roles->each(function($role)
{
});
$roles = $user->roles->filter(function($role)
{
});
เพิ่มการ Callback
$roles = User::find(1)->roles;
$roles->each(function($role)
{
//
});
เรียงลำดับค่าที่อยู่ในอาเรย์ด้วยฟังก์ชัน sortby
$roles = $roles->sortBy(function($role)
{
return $role->created_at;
});
บางครั้งเราต้องการเปลียนแปลงค่าทั้งออปเจคเลย eloquent ก็มีฟังก์ชัน newCollection
ให้ใช้ในการเขียนทับ
ตัวอย่างการใช้งาน
class User extends Eloquent {
public function newCollection(array $models = array())
{
return new CustomCollection($models);
}
}
ถ้ายังไม่เข้าใจว่าสองฟังก์ชันนี้มันคืออะไร ทำอะไรได้บ้าง แนะนำเข้าไปอ่านที่ผมสรุปไว้ก่อนใน บล็อก ครับ
บางเวลาเราต้องการ จัดรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เราต้องการ ก่อนจะบันทึกหรือดึงมาใช้ eloquent เตรียมฟังก์ชัน getFooAttribute
แต่การตั้งชื่อฟังก์ชันคำเริ่มต้นของคำที่เป็นชื่อของคอลัมน์ ต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ในกรณีที่มีเครื่องหมาย _ มาคั่น คำหลังจากนั้นก็ต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ครับ
ตัวอย่าง
class User extends Eloquent {
public function getFirstNameAttribute($value)
{
return ucfirst($value);
}
}
ในตัวอย่างเราทำการสร้าง accessor ของคอลัมน์ first_name
ทีนี้ค่าที่เราส่งเข้าฟังก์ชันนี้ก็จะถูกส่งไปเก็บถูกที่ละครับ
การสร้างฟังก์ชัน Mutator ก็คล้ายๆ กัน
ตัวอย่าง
class User extends Eloquent {
public function setFirstNameAttribute($value)
{
$this->attributes['first_name'] = strtolower($value);
}
}
โดยค่าเริ่มต้นเเล้ว Eloquent จะทำการตั้งค่าให้คอลัมน์ created_at
, updated_at
, และ deleted_at
ตามค่าเบื้องต้นของ php.ini อยู่เเล้วนะครับ
แต่ถ้าเราต้องการแก้ไขหรือเรียกใช้งานแบบไม่อยากเข้าไปยุ่งตรงๆ ก็สามารถใช้ฟังก์ชัน getDates
แบบในตัวอย่างเลยครับ
public function getDates()
{
return array('created_at');
}
ข้างในเราสามารถจัดการก่อนเอาไปใช้ได้เลย และ laravel ก็มีคลาสจัดการ วันเวลาที่มีฟังก์ชันหลากหลายมากอย่าง Carbon
มาให้ใช้ด้วย แต่ต้องไปประกาศชื่อย่อในไฟล์ app.php ก่อนนะครับ โดยค่าเริ่มต้นเเล้วไม่มี
Eloquent เตรียมฟังก์ชันที่คอยดักจับเหตุการณ์ต่างๆ มาให้เราดังนี้ครับ creating
, created
, updating
, updated
, saving
, saved
, deleting
, deleted
. แต่ถ้าค่าที่ส่งกลับมาเป็น false
เหตุการณ์ creating
, updating
, หรือ saving
จะถูกยกเลิก
การยกเลิกการแก้ไขข้อมูล
User::creating(function($user)
{
if ( ! $user->isValid()) return false;
});
การที่เราจะสร้างฟังก์ชัน์ในการจัดการเหตุการณ์ของ model ต้องประกาศฟังชัน boot
ก่อนนะครับ
การประกาศฟังก์ชัน boot
class User extends Eloquent {
public static function boot()
{
parent::boot();
// Setup event bindings...
}
}
Eloquent มีคลาสชื่อ Observer ในการสร้างฟังก์ชันที่ใช้จัดการเหตุการณ์ ฟังก์ชันcreating
, updating
, saving
ก็ตั้งตามเหตุการณ์ที่จะให้ฟังก์ชันนั้นจัดการครับ ตัวอย่าง
class UserObserver {
public function saving($model)
{
//
}
public function saved($model)
{
//
}
}
แล้วเราก็ต้องประกาศโดยใช้ฟังชัน observe
แบบตัวอย่าง
User::observe(new UserObserver);
การแปลงผลลัพทที่ค้นมาให้กลายเป็น array
$user = User::with('roles')->first();
return $user->toArray();
return User::all()->toArray();
การแปลงผลลัพธ์ให้กลายเป็น json
return User::find(1)->toJson();
การใช้งาน Eloquent จากใน route เลย
Route::get('users', function()
{
return User::all();
});
บางเวลาาเราไม่อยากให้บางคอลัมน์ถุกเรียกไปพร้อมกับ toJson
หรือ toArray
เราก็ใช้ตัวแปร hidden
ในการนั้น
ต้วอย่างการใช้งาน
class User extends Eloquent {
protected $hidden = array('password');
}