Image from https://www.insureon.com/blog/safeguard-building-services-with-lost-key-insurance-coverage
ถ้าพูดถึงเรื่องของ กุญแจ
หรือ Key
ก็คงจะหนีไม่พ้น เรื่องของการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)
คือ การที่เราต้องการส่งข้อมูลที่มีอยู่ ไปให้ใครสักคนนึง แล้วต้องการให้ข้อมูลชุดนั้นเป็นความลับ
เราก็จะเอาข้อมูลที่ต้องการจะส่ง มาทำการเข้ารหัส (Encrypt) ด้วย Key เพื่อไม่ให้ใครอ่านข้อมูลนั้นออก (ยกเว้นคนที่เราต้องการจะส่งข้อมูลไปหาจริง ๆ เท่านั้น ถึงจะอ่านข้อมูลออก)
จากนั้น
เราก็จะส่งข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว ไปหาคนที่เราต้องการส่งไปหา
เมื่อปลายทางได้รับข้อมูล
ก็จะทำการถอดรหัส (Decrypt) กลับ ด้วย Key เพื่อให้ได้ข้อมูลจริง ๆ ที่ต้นทางส่งมาให้
ก็จะเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการในการเข้ารหัส/ถอดรหัส และรับ/ส่งข้อมูล
การเข้ารหัส/ถอดรหัส (Encryption) สามารถทำได้หลายวิธี
แต่ปกติแล้ว จะถูกแบ่งออกเป็นแค่ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- การเข้ารหัสแบบใช้ Key เดียว (Secret Key) กับ
- การเข้ารหัสแบบใช้ Key คู่ (Keypair) หรือใช้ 2 Keys ช่วยกัน
เราจะเรียก การเข้ารหัสแบบนี้ว่า การเข้ารหัสแบบสมมาตร
หรือ Symmetric Encryption
คือ ถ้าใช้ Key ไหนเข้ารหัส ก็จะใช้ Key เดิมถอดรหัสออกมา
หน้าตาของ Secret Key จะประมาณนี้
password
//หรือ
123456
//หรือ
0863235932516704
//หรือ
E9lSpLZ0Pbebzq5gj6Ja6w
- Secret Key อาจจะใช้วิธีการ Random ขึ้นมา
- หรือ กำหนดขึ้นมาตายตัวเลย ว่าเป็นแบบนี้ ๆ
- มีรูปแบบไม่แน่นอน
ถ้าจะให้ดี Secret Key ควรใช้วิธีการ Random ขึ้นมา และเป็นการ Random ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ Key มีความปลอดภัย ไม่ถูกคาดเดาได้ง่าย
ใช้ Key ไหนเข้ารหัส ก็จะใช้ Key เดิมถอดรหัส
Algorithm ที่นิยมใช้ในการเข้ารหัสแบบ Key เดียว คือ
ไม่ได้มีตัวเดียวน่ะ แค่ยกตัวอย่างที่ใช้กันบ่อย ๆ
- เร็ว (กว่าแบบ Key คู่)
- ไม่เหมาะกับการแชร์ (Share) Key หรือการเอา Secret Key เรา ไปให้คนอื่นใช้ร่วมด้วย เพราะ Key ประเภทนี้ถือเป็นความลับ ห้ามเปิดเผย
วิธีการนี้ ปัจจุบันก็ยังคงใช้งานกันอยู่ ไม่ใช่ว่าไม่ใช้แล้ว
เพราะหลาย ๆ อย่าง ก็ยังต้องใช้การเข้ารหัสแบบ Key เดียวอยู่
เช่น
- การทำ Https ก็ใช้การเข้ารหัสแบบ Key เดียว
แต่ก็มีใช้แบบ Key คู่ร่วมด้วย ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อถัดไป
ถ้าอยากเข้าใจการทำงานของ Https สามารถอ่านจากบทความนี้ได้ครับ
เราจะเรียก การเข้ารหัสแบบนี้ว่า การเข้ารหัสแบบอสมมาตร
หรือ Asymmetric Encryption
คือ ใช้ Key นึงเข้ารหัส แล้วใช้อีก Key นึงถอดรหัส
หน้าตาของ Keys จะประมาณนี้
Public Key
-----BEGIN PUBLIC KEY-----
MIIBIjANBgkqhkiG9w0BAQEFAAOCAQ8AMIIBCgKCAQEAvDzcdSVY5HbgU3hnCW5vG3/kl8QFN
jUxVZJvAOpKh8ym9LaV98gGSlp8N/OjeQT2DsI6FKhJmCWUXn+7XTKPSxr4Xv2If6IWT2i6YV
VHhcdj4roTVQrDhFopj8hdjWOYPMg05u5lulU5Sa7JxPpA0zohYcSnw3JBoSBghfsjaf3oMRe
oQeMfYlbpaHP5/zqe5FSPwqxTXtR/3rpbfeVoNOp8lG4kjF7W5SINpuBEDz69+VCjDupL0Si5
/LGiDzGIA1X8M3j0zV95u/AwjhSD0VmkZBQvAws6G0aATdAgnlI1RK+AdpZf/zr3Q6l9J0SYj
1PFWgZzbagjkOGi3DlZdwIDAQAB
-----END PUBLIC KEY-----
Private Key
-----BEGIN PRIVATE KEY-----
MIIEvgIBADANBgkqhkiG9w0BAQEFAASCBKgwggSkAgEAAoIBAQC8PNx1JVjkduBTeGcJbm8bf
+SXxAU2NTFVkm8A6kqHzKb0tpX3yAZKWnw386N5BPYOwjoUqEmYJZRef7tdMo9LGvhe/Yh/oh
ZPaLphVUeFx2PiuhNVCsOEWimPyF2NY5g8yDTm7mW6VTlJrsnE+kDTOiFhxKfDckGhIGCF+yN
p/egxF6hB4x9iVuloc/n/Op7kVI/CrFNe1H/eult95Wg06nyUbiSMXtblIg2m4EQPPr35UKMO
6kvRKLn8saIPMYgDVfwzePTNX3m78DCOFIPRWaRkFC8DCzobRoBN0CCeUjVEr4B2ll//OvdDq
X0nRJiPU8VaBnNtqCOQ4aLcOVl3AgMBAAECggEACZlY7Khg5hWhzt/e8T4ucEqPT6XxVhhUUb
bL7lIERvSKtwPwldgfaf8/QmMsPOmh2pLQ/2itiBKyhDcjSNdhM0VG0SFAqrGLTbVbe8crhIj
scQ1oGvgXjFJEuE5RZvpjMwZKnFQf3+akqzs8kszoLV1TgnbSz0auThcmlO5/mdIAdnc/BxoT
yVcNW+948hgTnh6w9hqr+Gtd7T6CSdksSFpBD3xtAQvdKCq5tDcexapJPDvmzOIg4VLuaXP2x
cVGc4DOQj5pKA77HQrpJ8VqWDV3ecXwkiqAG2r7VdW8T4juPnj2whAxkSFVU8D4vUFyVrnFRh
818QaDKP1dWXstkQKBgQDgEHp+NIlKEStbBgxYXOc+clpAZMnVw+bFYcSDjzGdX/dzaI9zxrN
GO/ZjGko4SqYqp6EFmLsQiJDFHY9lxpFv74ouTEF/69d8tXqxhrqH1emDMraO/Y7gvsXtIhH4
3Zk9NkB/A+bOMj+sBUJZh2RxCgyhKZ4yE3L5FT9nllaCfQKBgQDXESmwYiPWllph4VhlnLtsO
gkWd83Nfi1vEOt2KZKw0uqnmg+tcTCHUCtepGwlchep8/4g2TweXtJ/8wVqkiiUat8gPsv0dk
eNzIwAbpDSVxErNYwE0e2LT7P+Mj+Ze/47qf52G+aY5lgZXrSfFnCAXUisZMPdcmD3qHtK1bO
6AwKBgH46qleZT1Lr00oHYUMSq6/xikjGvzJvl/3Q833OWPw5CVX6LP7jjTHfLBJuyCtoWq6j
G0Lk5VYOKcjyu0tyD5NJFsa4bRodCpwWPVXv+fv2lgQ0uMZbsHeK4kSSsh9K8D6c5r7nusqlY
luN5vA7J2nLaIwOvzGk5VvQDZVVC82dAoGBAIP9X4WFpZMD8XJS12p9NzVjpMIqQp8UChQ44R
lCyGlG+IZl8aszZWIWHJfX9xtAGy/Ns7A7Qj8tWKj33+IY01jLAicLAycEFEP9Pgrh0HWWw82
t7kHjCJNQFhoygn/S7iN139piozJBY94mFlnwbpkJJxnOObrFgKddulUiNEw7AoGBAJgR47tg
u4kRtVT0KWCkjEWGAWDlDpi5zXwGXAz46s1yBE/vYuh3DVA9w3cVX3Y6WNLD0RGozLSsqUU0I
1uyUhqDcHKCmqtcOSrcsVUpVJBhxJuPAJglRSJLVEflxSSZwFWJmQCB/WcPbL3a+xM4av53Tt
9YgGEku37mlGuNwxtA
-----END PRIVATE KEY-----
อันนี้เป็นแค่รูปแบบการจัดเก็บ Keys รูปแบบนึง
โดยการแปลง Key (Bytes) ไปเป็น Base64
จริง ๆ แล้ว ยังมีรูปแบบอื่น ที่อาจจะไม่ได้เก็บ Key เป็นแบบนี้
แต่เราก็มักจะเห็น Format นี้กันบ่อย ๆ
สังเกตว่า Key จะมี
-----BEGIN XXXXX KEY-----
//และ
-----END XXXXX KEY-----
ครอบอยู่
เพื่อใช้บอกว่า Key นี้ เป็น Key ประเภทไหน
- ขนาดของ Key จะยาวกว่าแบบ Key เดียว หรือ Secret Key
- Public Key และ Private Key ได้มาโดยการใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ในการสร้าง (Generate) ขึ้นมา Random คู่กันแบบมั่ว ๆ ไม่ได้
- ทั้ง 2 Keys มีความสัมพันธ์กัน
- Key นึงสามารถใช้ตรวจสอบอีก Key นึงได้ ว่า Key นั้นเป็นคู่ Key ของตัวเองรึเปล่า
ใช้ Key นึงเข้ารหัส แล้วใช้อีก Key นึงถอดรหัส (คนละ Key กัน)
Algorithm ที่นิยมใช้ในการเข้ารหัสแบบ Key คู่ คือ
- แชร์ Key ได้ โดยการเก็บ Key นึงไว้เก็บตัวเอง แล้วแชร์อีก Key นึงให้กับคนอื่น ๆ
- ช้ากว่าแบบ Key เดียว
- ไม่เหมาะกับการนำไปเข้ารหัสกับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เพราะมันช้า
ปกติการเข้ารหัสข้อมูลแบบ Key คู่ (ถ้าต้องเข้ารหัสกับข้อมูลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่) เค้าจะใช้วิธีการเข้ารหัสข้อมูลด้วย Secret Key ก่อน
แล้วจึงใช้การเข้ารหัสแบบ Key คู่ เข้ารหัส Secret Key อีกที
พร้อมกับแนบ Secret Key ที่ถูกเข้ารหัสแล้ว + ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัส ด้วย Secret Key ไปด้วยกัน เพื่อให้ปลายทางนำไปถอดข้อมูลต่อไป
เพราะบางกระบวนการ ไม่สามารถที่จะใช้การเข้ารหัสแบบ Key เดียวได้
ทำความเข้าใจตรงนี้กันก่อน
การเข้ารหัสต่าง ๆ เราสามารถที่จะเอามาใช้สำหรับการเข้ารหัส/ถอดรหัส เพื่อให้ข้อมูลชุดนั้นเป็นความลับ (Encryption/Decryption) ในระหว่างการส่งข้อมูล
หรือ
เอามาใช้กับ กระบวนการที่เรียกว่า การทำลายเซ็นต์ดิจิตอล (Digital Signature)
ก็ได้
เดี๋ยว
ลายเซ็นต์ดิจิตอล ไม่ใช่แบบนี้น่ะ
ไม่ใช่ลายเซ็นต์ตัวหนังสือที่เราเซ็นต์ลงไปบน Tablet ตอนที่เค้าเอาของมาส่งหน้าบ้านเราน่ะ บางคนยังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแบบนี้อยู่
แต่ลายเซ็นต์ดิจิตอลจริง ๆ เป็นแบบนี้ คือ
เค้าจะใช้กระบวนการเข้ารหัสมาช่วยในการเซ็นต์ (Sign)
แล้วก็ใช้กระบวนการถอดรหัสมาช่วยในการตรวจสอบลายเซ็นต์ (Verify)
เพื่อใช้สำหรับตรวสอบ และยืนยันว่า ลายเซ็นนั้น เป็นของคนที่เซ็นต์ลงไปจริง ๆ
และเอกสารที่คน ๆ นั้นเซ็นต์ลงไป ไม่ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงระหว่างการส่งแต่อย่างใด
ถ้าเราต้องการส่งเอกสารออนไลน์ (Online) โดยไม่ใช้กระดาษ ให้มีความน่าเชื่อถือ การทำลายเซ็นต์ดิจิตอล สามารถเอามาใช้แก้ปัญหานี้ได้
โดยการใช้ความสามารถของการเข้ารหัสแบบ Public Key / Private Key
หมายเหตุ
สามารถอ่านเรื่องลายเซ็นต์ดิจิตอล ได้จากบทความนี้
ตัวอย่างเบื้องต้น
ขอยกตัวอย่าง ในลักษณะของการทำ Signature (Digital Signature แบบย่อ)
คือ การเอา Keys ไปใช้ในการ Sign / Verify Token สำหรับระบบ Authentication
ปัญหา
ถ้าเราพัฒนาระบบแบบใช้ Key เดียว หรือแบบ Secret Key
บางครั้ง เราอาจเจอสถานการณ์ที่ต้องมีการแชร์ (Share) Key ให้คนอื่นเกิดขึ้น
ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราไม่ได้อยากที่จะยก Secret Key เราให้ใคร
เพราะถ้าเราให้ Secret Key ใครไป มันจะเหมือนกับว่า อีกฝั่งนึง ได้สิทธิ์ของเราไปเต็ม ๆ
เพราะเค้ามี Key เรา เค้าจะทำอะไรในนามของเราก็ได้
เพราะ Key นั้นเป็น Key ของระบบเรา
เช่น
มีการเอา Secret Key ไปใช้กับเรื่องของ Authentication
ถ้าเราเอา Secret Key มาใช้สำหรับการ Sign Token
แล้วเรา Share Secret Key เรา ให้ระบบอื่น ๆ เอาไปใช้ด้วย
(สมมติว่ามีระบบอื่นต้องการ Plug หรือ เชื่อมต่อ (Integrate) เข้ามายังระบบเรา)
และคนที่พัฒนาระบบนั้น รู้วิธีการ Sign Token ที่เราใช้
ระบบอื่น ๆ สามารถที่จะ Sign Token ขึ้นมาใช้เองได้
และสามารถใส่ข้อมูลอะไรลงไปใน Token ก็ได้
ทำให้ระบบนั้นสามารถที่จะควบคุม หรือ กำหนดบทบาทอะไรต่าง ๆ ของข้อมูล User Login ในระบบเองได้ทั้งหมดเลย ทั้ง ๆ ที่ระบบนนั้นไม่ใช่ระบบ Authentication
ซึ่งจริง ๆ แล้ว เหตุการณ์แบบนี้เราไม่ได้ต้องการให้มันเกิดขึ้น เราต้องการแค่ว่า ยก Secret Key ให้ระบบนึงไป โดยมีวัตถุประสงค์ว่า ต้องการให้ระบบนั้น เอา Secret Key ไปใช้สำหรับ การ Verify Token เท่านั้น
วิธีแก้ไข
ถ้าเราเปลี่ยนจากการใช้ Secret Key มาใช้แบบ Key คู่ หรือแบบ Keypair เราสามารถที่จะยก Key ชุดนึง (Public Key) ของเราให้กับระบบอื่น ๆ ได้
เวลา Sign Token เราก็จะใช้ Private Key ในการ Sign ที่ระบบเรา (ระบบ Authentication)
ส่วนระบบอื่น ๆ ก็ใช้ Public Key ในการ Verify Token แทน
ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าระบบอื่น ๆ จะสามารถ Sign Token ขึ้นมาใช้เองได้ เพราะเค้าไม่มี Private Key ของระบบเรา
ต่อให้เค้าใช้ Public Key Sign Token ขึ้นมา
ตอน Verify Token ก็จะ Verify ไม่ผ่าน
เพราะเราจะใช้ Public Key Verify Token นั้นด้วย
เราไม่สามารถใช้ Key เดิม Sign แล้ว Verify ตัวมันเองได้ ต้องใช้อีก Key นึงที่เป็นคู่ของมันเท่านั้น
Public Key อื่น ๆ ที่ไม่ใช่คู่ Key ของมัน ก็ไม่สามารถเอามาใช้ Verify แทนกันได้
นี่จึงเป็นข้อได้เปรียบนึงของการใช้ การเข้ารหัสแบบ Public Key / Priavte Key (Keypair)
ตัวอย่างอื่น ๆ ก็มีอีกมากมาย สามารถดูตัวอย่างได้จาก หัวข้อ
- Public Key / Private Key เอาไปใช้ทำอะไรบ้าง
ด้านล่าง
Image from https://www.brandbuffet.in.th/wp-content/uploads/2018/07/shutterstock-rockthatstock-1.jpg
การใช้ Key หรือ Encryption ทั้ง 2 แบบ มีข้อดี/ข้อเสีย แตกต่างกัน ทั้งนี้
จะเลือกใช้ Encryption แบบใด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ทำให้ต้องเลือกใช้ Encryption แบบนั้น
เช่น
ถ้าต้องการความเร็วในการเข้ารหัส (Encryption) / ถอดรหัส (Decryption)
และ Key ที่ใช้อยู่ไม่ได้ต้องการเปิดเผยให้ใคร (เป็นความลับ เข้ารหัสเอง ถอดรหัสเอง)
ก็ให้เลือกใช้ การเข้ารหัสแบบ Key เดียว หรือ Secret Key หรือ Symmetric Encryption
ที่เร็ว เพราะโดยปกติ แบบ Key เดียว จะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Key คู่ จึงทำให้การเข้ารหัสนั้นสามารถทำได้เร็วกว่า
แต่ถ้าต้องการเปิดเผย Key ให้คนอื่นใช้ร่วมด้วย (Share Key)
ก็ให้เลือกใช้ การเข้ารหัส/ถอดรหัส แบบ Key คู่ หรือ Keypair หรือ Asymmetric Encryption คือ
เราจะเปิดเผย Key นึงเป็นสาธารณะ
ให้ใครก็ได้สามารถเข้าถึง (Access) Key นั้นได้ เราเรียก Key นี้ว่า Public Key
ใครที่อยากจะส่งข้อมูลให้เรา ก็สามารถใช้ Public Key นี้ เอามาเข้ารหัสได้
และเราจะเก็บ Key นึงไว้กับตัวเอง ไม่เปิดเผยให้ใครเห็น เราเรียก Key นี้ว่า Private Key
เมื่ออีกฝ่ายส่งข้อมูลมาถึงเรา เราก็จะใช้ Private Key ของเรา ถอดรหัสข้อมูลออกมา
คนอื่นจะไม่สามารถใช้ Key ใด ๆ มาถอดรหัสข้อมูลที่ส่งมาได้
ต้องใช้ Key ที่ถูกสร้างขึ้นมาคู่กันเสมอ ถึงจะถอดรหัสออกมาได้
บางครั้ง ก็มีการใช้คุณสมบัติและความสามารถของ Key ทั้ง 2 แบบช่วยกัน เช่น การทำงานของ Https เป็นต้น
RSA
ย่อมาจาก Rivest–Shamir–Adleman
เป็นหนึ่งในวิธีการ หรือ อัลกอริทึม (Algorithm) ที่นิยมใช้มากที่สุด
สำหรับการเข้ารหัสแบบ Public Key / Private Key
แต่ละภาษาโปรแกรมมิ่ง จะมีการเขียน Code หรือ Implement ตัว RSA ขึ้นมา
เพื่อให้โปรแกรมเมอร์ สามารถนำ RSA ไปช่วยในการ สร้างรหัส เข้ารหัส/ถอดรหัส แบบ Asymmetric Encryption ได้
โดยที่ไม่ต้องเขียน Code ส่วนนี้ขึ้นมาเอง
RSA มาจากอักษรตัวแรกของนามสกุลของ 3 ผู้คิดค้น Algorithm นี้ คือ
ตัวอย่างของการนำ กระบวนการเข้ารหัสแบบ Public Key / Private Key (Public Key Crytography) ไปใช้ได้แก่
- การทำ Digital Certificate เพื่อใช้สำหรับการทำ Https หรือ นำไปใช้กับเรื่อง Digital Signature ลองอ่านจากบทความนี้ดูครับ ทำความรู้จักกับ X.509 Certificate พื้นฐานสำหรับการทำ Https และ Security อื่น ๆ
- การทำงานของ SSH ที่มีการใช้ Public Key / Private Key ในการทำ Authentication ตัวอย่างจากบทความนี้ การติดตั้งและใช้งาน SSH บน Ubuntu Server
- การใช้งานกับ JWT (Json Web Token) สำหรับการ Sign และ Verify Token ด้วย RSA Algorithm
- การใช้งานกับ Blockchain เช่น BitCoin ที่ใช้ Public Key ในการเป็น Bitcoin Address และใช้ Private Key ในการเป็น Owner Key ลองอ่านบทความนี้ดู Blockchain for Geek ... เบื้องหลังการทำงานฉบับ Technical ตัวอย่างจาก Bitcoin โดย NuuNeoi
- การทำ Credentials ใน Firebase ของ Google (JSON File) เพื่อให้เราสามารถเข้าใช้งาน Service ต่าง ๆ ของ Firebase ได้
- เรื่องอื่น ๆ ที่มีการใช้ PKI (Public Key Infrastructure) ลองอ่านบทความนี้ดูครับ โครงสร้างการเข้ารหัสข้อมูลแบบกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure)
จะเห็นว่าเรื่อง Public Key / Private Key แทบจะเป็นพื้นฐานของการทำ Security สำหรับทุก ๆ เรื่อง ในปัจจุบันนี้เลยก็ว่าได้
Image from https://news.gearvn.com/wp-content/uploads/2020/02/Build-Vs-Buy-Pt-1-Value-of-Custom-Software.jpg
เราสามารถสร้าง (Generate) Public Key / Private Key ได้หลายวิธี ทั้ง
- การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่ ช่วยสร้างขึ้นมา เช่น
- OpenSSL (Command Line Tool)
- Java Keytool (Command Line Tool)
- SSH Keygen (Command Line Tool)
- เครื่องมือแบบ GUI ต่าง ๆ เช่น KeyStore Explorer
- อื่น ๆ
- การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโปรแกรมมิ่ง (Programming) ต่าง ๆ ที่รองรับการเข้ารหัส/ถอดรหัส
- อื่น ๆ
ในบทความนี้จะยกตัวอย่าง การสร้าง Public Key / Private Key ด้วยภาษา Java ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมมิ่งตัวนึง ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนี้
ก่อนที่จะเริ่มเขียนโปรแกรม เราจะต้องเข้าใจเรื่องของ Key Format กันก่อน เพราะมันมีผลกับการเลือกใช้ Code ในการเขียนโปรแกรม ดังนี้
- Public Key เป็น Key ที่มี Format เป็น
X.509
- Private Key เป็น Key ที่มี Format เป็น
PKCS#8
X.509 เป็นมาตรฐาน (Standard) ที่ใช้สำหรับโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (PKI : Public Key Infrastructure)
ถ้าเป็นกระบวนการ ที่ใช้การเข้ารหัสแบบที่มี Public Key
มาตรฐานที่ใช้เป็นตัวกำหนดเรื่องของ Public Key ก็คือมาตรฐาน X.509
PKCS ย่อมาจาก Public Key Cryptography Standards เป็นกลุ่มของข้อกำหนด และมาตรฐาน (Standard) ต่าง ๆ สำหรับการเข้ารหัสแบบที่ใช้ Public Key
โดย PCKS มีการกำหนดเป็นตัวเลขตั้งแต่ PKCS#1
, PKCS#2
, PKCS#3
ไปจนถึง PKCS#15
(ในปัจจุบัน)
- PKCS#1 เป็นมาตรฐานสำหรับ RSA Cryptography Standard
- PKCS#2 ไม่ได้ใช้แล้ว (ถูกยกเลิก)
- PKCS#3 เป็นเรื่องของ Diffie–Hellman Key Agreement Standard
- PKCS#4 ไม่ใช้แล้ว (ถูกยกเลิก)
- PKCS#5 เป็นเรื่องของ Password-based Encryption Standard
- และ PKCS อื่น ๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก https://www.wikiwand.com/en/PKCS
ส่วน PKCS#8
เป็นเรื่องของมาตรฐาน ข้อกำหนด และรูปแบบต่าง ๆ ของ Private Key (Private-Key Information Syntax Standard)
ถ้าเรามีอะไรที่ต้องยุ่งกับ Private Key ให้ Focus ไปที่ PKCS ตัวนี้
จะใช้ class java.security.KeyPairGenerator
เป็นตัวช่วยสร้าง ดังนี้
//Generate Keypair
final KeyPairGenerator keyPairGenerator = KeyPairGenerator.getInstance("RSA");
//กำหนดขนาด Key เป็น 2,048 bits
keyPairGenerator.initialize(2048);
final KeyPair keyPair = keyPairGenerator.genKeyPair();
final PublicKey publicKey = keyPair.getPublic();
final PrivateKey privateKey = keyPair.getPrivate();
ตอนนี้เราได้ Public Key และ Private Key ที่มีความสัมพันธ์กันขึ้นมาแล้ว
ต่อมาเราจะลอง Print ผลลัพธ์ หรือ Attributes ต่าง ๆ ของ Key ออกมาดู ว่ามีค่าอะไรบ้าง
System.out.println("publicKey");
System.out.println("publicKey.algorithm => " + publicKey.getAlgorithm());
System.out.println("publicKey.format => " + publicKey.getFormat());
System.out.println("publicKey.encoded.length => " + publicKey.getEncoded().length);
System.out.println("privateKey");
System.out.println("privateKey.algorithm => " + privateKey.getAlgorithm());
System.out.println("privateKey.format => " + privateKey.getFormat());
System.out.println("privateKey.encoded.length => " + privateKey.getEncoded().length);
output
publicKey.algorithm => RSA
publicKey.format => X.509
publicKey.encoded.length => 294
//
privateKey.algorithm => RSA
privateKey.format => PKCS#8
privateKey.encoded.length => 1219
สังเกตุว่า
- Public Key จะมี Format เป็น
X.509
และ - Private Key มี Format เป็น
PKCS#8
ถัดมา
Key ที่เราสร้างขึ้นมาแต่ละ Key เราสามารถ Get ค่าได้จาก Method byte[] getEncoded()
ซึ่งจะมีการ Return Key ออกมาเป็น Byte Array (หลาย Byte)
เราสามารถนำ Key นี้ไปใช้ได้เลย เพราะเป็น Key ที่ถูกต้องแล้ว
แต่ถ้าเราต้องการ Save Key เก็บไว้ และต้องการให้คนอ่านได้ เราจะต้องทำการแปลง Byte Array นั้นไปเป็น Format ที่คนพอจะอ่านรู้เรื่องก่อน นั่นก็คือ Base64 Format ดังนี้
private static String convertToBase64PublicKey(final byte[] bytes) {
return new StringBuilder()
.append("-----BEGIN PUBLIC KEY-----")
.append("\n")
.append(Base64.getEncoder().encodeToString(bytes))
.append("\n")
.append("-----END PUBLIC KEY-----")
.toString();
}
private static String convertToBase64PrivateKey(final byte[] bytes) {
return new StringBuilder()
.append("-----BEGIN PRIVATE KEY-----")
.append("\n")
.append(Base64.getEncoder().encodeToString(bytes))
.append("\n")
.append("-----END PRIVATE KEY-----")
.toString();
}
สังเกตุว่า เราจะมีการครอบด้วย
-----BEGIN XXXXX KEY-----
//และ
-----END XXXXX KEY-----
ลองดูผลลัพธ์ สมมติมีการเรียกใช้ 2 Method นี้
output
-----BEGIN PUBLIC KEY-----
MIIBIjANBgkqhkiG9w0BAQEFAAOCAQ8AMIIBCgKCAQEAj//uo4lZW6f1qgeKJVSULHI4fd6VZ8HOiUNYpWsh1lLazm5TtMqHjgYbh42L3fdz/pszO8S02EP9xS9aCp11Qy5MFF8mI5GkBra0NN7okNGcNU4zAuyxM8mDyS6amGTZX3ZM0xAe/WneH+YjHHYZ1OfRMev2JKEVvOqU8z4DAqyfQsvfWJrLxNQbtg5jjQCaV/lsYwi3gTZm6DOxeeLCZqy5nWrHkqUPx18utwF2TwKbrKaxAqkxxjGH7EAnwF9PrgC2tFoh0NHI/uHVdmgmHlvHPerQIveOjH/C9QCs+Hgb/Gt6tD2P2X4KVfxiaIToXN0B5F89ngJtVF6zFfVDiwIDAQAB
-----END PUBLIC KEY-----
และ
-----BEGIN PRIVATE KEY-----
MIIEvwIBADANBgkqhkiG9w0BAQEFAASCBKkwggSlAgEAAoIBAQCP/+6jiVlbp/WqB4olVJQscjh93pVnwc6JQ1ilayHWUtrOblO0yoeOBhuHjYvd93P+mzM7xLTYQ/3FL1oKnXVDLkwUXyYjkaQGtrQ03uiQ0Zw1TjMC7LEzyYPJLpqYZNlfdkzTEB79ad4f5iMcdhnU59Ex6/YkoRW86pTzPgMCrJ9Cy99YmsvE1Bu2DmONAJpX+WxjCLeBNmboM7F54sJmrLmdaseSpQ/HXy63AXZPApusprECqTHGMYfsQCfAX0+uALa0WiHQ0cj+4dV2aCYeW8c96tAi946Mf8L1AKz4eBv8a3q0PY/ZfgpV/GJohOhc3QHkXz2eAm1UXrMV9UOLAgMBAAECggEBAI5O0IjfkOaqu3ZYUycHShQOoVOLKD3M4471dmKr2FnVshV2JNUznfk2gfhZY1NuXDzPJje38z0THHTFkgeRirRkyZ0MV0Wphd94qejiLhYIgIaRjIokXg8e5FVq8C8Q412bLNsdQHMSMAl4R1S2RlsI6c2bMrsKUtBLR/6HVzRI4xKXLuNccsGA/PiFq/bQa3WzGpbaKhHRzS9VHmbf/qMbq4nkc6LUs49wiCZkWlFstl8Pw4cLIqif6YWf6FrjAX5Q83qTMh5y6RMlyKkuqBxK+zyyh3RL22vAuwWwp/uX/KGmTtFJpNrisHiruvnAGKv3BiPyvGUFw9DciFixmbECgYEA3XG7HTXTlIAfr1dptSRJDijPYYc4GVC/RrMnV/cauoiwszvE26mSksoDp8IxnwCAflNucmGMSx/6WtlxVMNabp9aAcQDcKJj4nWUNoKjggus1IEMxrlx0N0yASgG3Gtcl3dO0d5MhtaolXyfWtxajAHVY9c+bXrdr5xEj6IfzukCgYEApnhxSZ84sgiG6S4NEoDn0u2NYv2ZWT5gCdnB0OJfyTatI8Vee8n8xl+ntjfbvVa5xLs/lBH2OcUkgdjshDOOV5puJT0mwX3HOlf+pOevBddr1p22sA9KYahAa/e4ictPZiQ4q4JgjdxfYMvD+yh3zpMSQ+5xw/fUeMJTgI9K/lMCgYEAn6Pz7tT1GSNctD1iOXJVMF3/UyH2MVni6wcQn/vGSx9rs2qtOmZ/Ak+cXv5CY4wrFebzwoXMbAQ7qe8EIsVKlmFOs+MpT7PiKkn1dW6sjX35NKFsIn9iK96qw+alO5YyhAdAzU9i//oUQuA6yXf91t0jhvyPRsHCu2z+iEWqhLECgYAz29Fu3esLixx8B5yK5x1Q2C/zZo0fAA9rAisep2aviBjny9RjO8lDAwl7+mq50QqN/scPmYja9k8pJCqKBIWTRMiLUUGBhW1K/56UQJiFeVZexULkFd9WDNQEzmbuhid16lK9GyB5EO2ledTTqQepkqdeAinuooXOGLtqkTkLgQKBgQC1wKNu4av+gv8v7qsWVyA0KZCHzviEnOA4O/uovEtUTTgTx6jtjkxKtMlLhCa99amGEq+mGr7ZlqpCvcMJyKD/ybgoPujtOPdJD7kUlfNdf4lfhaUTdlk1f7J4kaapu0PUfF9u/dPm8Zeg826bWgATNdY+DqMNLSOYVrdHnt8kkg==
-----END PRIVATE KEY-----
เราสามารถนำ Key นี้ ไป Save เป็น File นามสกุลต่าง ๆ เก็บไว้ได้เลย เช่น .pem
, .key
, .pub
etc.
ทำได้ดังนี้
private static String removeKeyBlock(final String key){
return key
.replaceAll("-----BEGIN.*KEY-----", "")
.replaceAll("-----END.*KEY-----", "")
.replaceAll("\\s+", "");
}
private static PublicKey convertToPublicKey(final String base64PublicKey) throws NoSuchAlgorithmException, InvalidKeySpecException {
final String realKey = removeKeyBlock(base64PublicKey);
final byte[] keyBytes = Base64.getDecoder().decode(realKey);
final X509EncodedKeySpec spec = new X509EncodedKeySpec(keyBytes);
final KeyFactory keyFactory = KeyFactory.getInstance("RSA");
return keyFactory.generatePublic(spec);
}
private static PrivateKey convertToPrivateKey(final String base64PrivateKey) throws NoSuchAlgorithmException, InvalidKeySpecException {
final String realKey = removeKeyBlock(base64PrivateKey);
final byte[] keyBytes = Base64.getDecoder().decode(realKey);
final PKCS8EncodedKeySpec spec = new PKCS8EncodedKeySpec(keyBytes);
final KeyFactory keyFactory = KeyFactory.getInstance("RSA");
return keyFactory.generatePrivate(spec);
}
สังเกตว่าเราจะทำการ Replace
-----BEGIN XXXXX KEY-----
//และ
-----END XXXXX KEY-----
ด้วย Empty String ก่อน
เพราะ Key จริง ๆ อยู่ข้างใน Block นี้
จากนั้นก็ Decode Base64 กลับมาเป็น Byte Array แล้วใช้ KeySpec อ่าน Key ขึ้นมา
สังเกตุ
สังเกตว่า KeySpec ที่ใช้กับ Public Key และ Private Key ไม่เหมือนกัน
- Public Key ใช้
X509EncodedKeySpec
- Private Key ใช้
PKCS8EncodedKeySpec
เพราะว่าแต่ละ Key มี Key Format ที่ ไม่เหมือนกัน ตามที่ได้อธิบายไว้ในหัวข้อที่ผ่านมา
เมื่อเราเรียกใช้งาน Method นี้ ก็จะประมาณนี้
final PublicKey aPublicKey = convertToPublicKey(base64PublicKey);
final PrivateKey aPrivateKey = convertToPrivateKey(base64PrivateKey);
เราสามารถนำ Public Key / Private Key นี้ไปใช้งานต่อได้เลย
package me.jittagornp.learning.keypair;
import java.security.KeyFactory;
import java.security.KeyPair;
import java.security.KeyPairGenerator;
import java.security.NoSuchAlgorithmException;
import java.security.PrivateKey;
import java.security.PublicKey;
import java.security.spec.InvalidKeySpecException;
import java.security.spec.PKCS8EncodedKeySpec;
import java.security.spec.X509EncodedKeySpec;
import java.util.Base64;
/**
* @author jitta
*/
public class JavaKeyPair {
public static void main(String[] args) throws NoSuchAlgorithmException, InvalidKeySpecException {
//Generate Keypair
final KeyPairGenerator keyPairGenerator = KeyPairGenerator.getInstance("RSA");
keyPairGenerator.initialize(2048);
final KeyPair keyPair = keyPairGenerator.genKeyPair();
final PublicKey publicKey = keyPair.getPublic();
final PrivateKey privateKey = keyPair.getPrivate();
final String base64PublicKey = convertToBase64PublicKey(publicKey.getEncoded());
final String base64PrivateKey = convertToBase64PrivateKey(privateKey.getEncoded());
System.out.println("Generating Keypair");
System.out.println("");
System.out.println("publicKey");
System.out.println("publicKey.algorithm => " + publicKey.getAlgorithm());
System.out.println("publicKey.format => " + publicKey.getFormat());
System.out.println("publicKey.encoded.length => " + publicKey.getEncoded().length);
System.out.println(base64PublicKey);
System.out.println("======================================================");
System.out.println("privateKey");
System.out.println("privateKey.algorithm => " + privateKey.getAlgorithm());
System.out.println("privateKey.format => " + privateKey.getFormat());
System.out.println("privateKey.encoded.length => " + privateKey.getEncoded().length);
System.out.println(base64PrivateKey);
System.out.println("======================================================");
System.out.println("Reading Keypair");
System.out.println("");
final PublicKey aPublicKey = convertToPublicKey(base64PublicKey);
final PrivateKey aPrivateKey = convertToPrivateKey(base64PrivateKey);
//Do something...
}
private static String convertToBase64PublicKey(final byte[] bytes) {
return new StringBuilder()
.append("-----BEGIN PUBLIC KEY-----")
.append("\n")
.append(Base64.getEncoder().encodeToString(bytes))
.append("\n")
.append("-----END PUBLIC KEY-----")
.toString();
}
private static String convertToBase64PrivateKey(final byte[] bytes) {
return new StringBuilder()
.append("-----BEGIN PRIVATE KEY-----")
.append("\n")
.append(Base64.getEncoder().encodeToString(bytes))
.append("\n")
.append("-----END PRIVATE KEY-----")
.toString();
}
private static String removeKeyBlock(final String key){
return key
.replaceAll("-----BEGIN.*KEY-----", "")
.replaceAll("-----END.*KEY-----", "")
.replaceAll("\\s+", "");
}
private static PublicKey convertToPublicKey(final String base64PublicKey) throws NoSuchAlgorithmException, InvalidKeySpecException {
final String realKey = removeKeyBlock(base64PublicKey);
final byte[] keyBytes = Base64.getDecoder().decode(realKey);
final X509EncodedKeySpec spec = new X509EncodedKeySpec(keyBytes);
final KeyFactory keyFactory = KeyFactory.getInstance("RSA");
return keyFactory.generatePublic(spec);
}
private static PrivateKey convertToPrivateKey(final String base64PrivateKey) throws NoSuchAlgorithmException, InvalidKeySpecException {
final String realKey = removeKeyBlock(base64PrivateKey);
final byte[] keyBytes = Base64.getDecoder().decode(realKey);
final PKCS8EncodedKeySpec spec = new PKCS8EncodedKeySpec(keyBytes);
final KeyFactory keyFactory = KeyFactory.getInstance("RSA");
return keyFactory.generatePrivate(spec);
}
}
เมื่อเราได้ Keys มาแล้ว
ต่อมา เรามาลองเขียน Code เพื่อทดสอบการเข้ารหัส/ถอดรหัส กันดู ดังนี้
เขียน Method สำหรับรับข้อมูลมาทำการเข้ารหัส/ถอดรหัส
//เข้ารหัส
public static byte[] encrypt(final byte[] data, final PublicKey publicKey) throws NoSuchAlgorithmException, NoSuchPaddingException, InvalidKeyException, IllegalBlockSizeException, BadPaddingException {
final Cipher cipher = Cipher.getInstance("RSA");
cipher.init(Cipher.ENCRYPT_MODE, publicKey);
return cipher.doFinal(data);
}
//ถอดรหัส
public static byte[] decrypt(final byte[] data, final PrivateKey privateKey) throws NoSuchAlgorithmException, NoSuchPaddingException, InvalidKeyException, IllegalBlockSizeException, BadPaddingException {
final Cipher cipher = Cipher.getInstance("RSA");
cipher.init(Cipher.DECRYPT_MODE, privateKey);
return cipher.doFinal(data);
}
โดยเราจะใช้ class javax.crypto.Cipher
ช่วย ทำทั้งเข้ารหัส และถอดรหัส
สังเกตตรง cipher.init()
จะมีการกำหนด Mode ที่ใช้ นั่นคือ
- ถ้าต้องการจะเข้ารหัส ให้ใช้ Mode เป็น
Cipher.ENCRYPT_MODE
- แต่ถ้าต้องการจะถอดรหัส ให้ใช้ Mode เป็น
Cipher.DECRYPT_MODE
แล้วส่ง Key เข้าไปเป็น Parameter ตัวที่ 2
ทดสอบ
final String message = "Hello World";
final byte[] encryptedBytes = encrypt(message.getBytes(), publicKey);
final String encrypted = new String(encryptedBytes);
final String encryptedBase64 = Base64.getEncoder().withoutPadding().encodeToString(encryptedBytes);
final byte[] decryptedDecodeBytes = Base64.getDecoder().decode(encryptedBase64);
final byte[] decryptedBytes = decrypt(decryptedDecodeBytes, privateKey);
final String decrypted = new String(decryptedBytes);
และ
System.out.println("message => " + message);
System.out.println("");
System.out.println("Encrypt");
System.out.println("encryptedBytes.length => " + encryptedBytes.length);
System.out.println("encryptedBase64 => " + encryptedBase64);
System.out.println("");
System.out.println("Decrypt");
System.out.println("decryptedDecodeBytes.length => " + decryptedDecodeBytes.length);
System.out.println("decryptedBytes.length => " + decryptedBytes.length);
System.out.println("decrypted => " + decrypted);
output
message => Hello World
Encrypt
encryptedBytes.length => 256
encrypted => S�p?���ץ���d��qV�3�t�%z�1}��(Z˄��������Fa#��٨�Z�@���6[�UU$�5�5�o�Z�bS�<_��G��&FL��� �$?��܂
�.#ߞ�:��
<��r�����>��-(��3��8�K�0�J�����)?��O���F�K��J���^��~+���:��
encryptedBase64 => U/5wgQbii+PXpRLK3rT5ZJvzcVacM/x06yV6zTF9/ZsoWsuEjpvY+PkcAw5GYSPu5NmovFoDQL0RDjZb86evVVUkjjWCNeZvolrgtWJTmTxfmJlHhPcmRkwOEcsJsCQ/q+vcgg0ELiPfntg6BRANPBygcsz17+YQPtjeLSi11TPiHTimS9kwzEoMvBsP+5IpkKgDTwuV4UaGS5H7SsXq017D234r1wu4OhOTAANft8Dn8pQd68lpsG70FcRIdx1CanajPjRE5+kRX/2bUwONEQAKgSOelPnrVTmB9rDvse+7w/Ymao9u81Hd8WY1Ul/4mVWZVuuck9rzAwf2a700AA
Decrypt
decryptedDecodeBytes.length => 256
decryptedBytes.length => 11
decrypted => Hello World
Message "Hello World" ถูกนำไปใช้เข้ารหัสด้วย Public Key ผ่าน Method encrypt()
สังเกตว่า ผลลัพธ์ที่ออกมาในตัวแปร encrypted
หลังจากที่ทำการแปลงเป็น String แล้ว อ่านไม่รู้เรื่องเลย เพราะเป็น Byte ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว
เราไม่สามารถนำอักขระ (Character) ในลักษณะของตัวแปร encrypted
ไปใช้งานตรง ๆ ได้ เนื่องจากอักขระบางตัว ไม่รองรับกับการใช้งานบางอย่าง ยกเว้นว่าเราจะ Save Byte ข้อมูลนี้เก็บไว้เป็น File หรือ Database หรือ อื่น ๆ ที่สามารถเก็บ Byte ข้อมูลนี้ได้
เราจึงต้องทำการแปลงไปเป็น Base64 ก่อน เพื่อให้สามารถนำไปใช้กับงานอื่น ๆ ได้ และเราก็มักจะเห็น Format การเข้ารหัสข้อมูลแบบนี้กันบ่อย ๆ คือ
เข้ารหัสแล้ว ก็มักที่จะ Encode เป็น Base64 ต่อ
จากนั้น ก็ลองนำข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว มาทำการถอดรหัสด้วย Private Key ผ่าน Method decrypt()
ดู ก็จะเห็นว่า ได้คำว่า "Hello World" ออกมาเหมือนเดิม
package me.jittagornp.learning.keypair;
import java.security.InvalidKeyException;
import java.security.KeyPair;
import java.security.KeyPairGenerator;
import java.security.NoSuchAlgorithmException;
import java.security.PrivateKey;
import java.security.PublicKey;
import java.util.Base64;
import javax.crypto.BadPaddingException;
import javax.crypto.Cipher;
import javax.crypto.IllegalBlockSizeException;
import javax.crypto.NoSuchPaddingException;
/**
* @author jitta
*/
public class Encyption {
public static void main(String[] args) throws Exception {
//Generate Keypair
final KeyPairGenerator keyPairGenerator = KeyPairGenerator.getInstance("RSA");
keyPairGenerator.initialize(2048);
final KeyPair keyPair = keyPairGenerator.genKeyPair();
final PublicKey publicKey = keyPair.getPublic();
final PrivateKey privateKey = keyPair.getPrivate();
//======================================================================
final String message = "Hello World";
final byte[] encryptedBytes = encrypt(message.getBytes(), publicKey);
final String encrypted = new String(encryptedBytes);
final String encryptedBase64 = Base64.getEncoder().withoutPadding().encodeToString(encryptedBytes);
final byte[] decryptedDecodeBytes = Base64.getDecoder().decode(encryptedBase64);
final byte[] decryptedBytes = decrypt(decryptedDecodeBytes, privateKey);
final String decrypted = new String(decryptedBytes);
System.out.println("message => " + message);
System.out.println("");
System.out.println("Encrypt");
System.out.println("encryptedBytes.length => " + encryptedBytes.length);
System.out.println("encrypted => " + encrypted);
System.out.println("encryptedBase64 => " + encryptedBase64);
System.out.println("");
System.out.println("Decrypt");
System.out.println("decryptedDecodeBytes.length => " + decryptedDecodeBytes.length);
System.out.println("decryptedBytes.length => " + decryptedBytes.length);
System.out.println("decrypted => " + decrypted);
}
public static byte[] encrypt(final byte[] data, final PublicKey publicKey) throws NoSuchAlgorithmException, NoSuchPaddingException, InvalidKeyException, IllegalBlockSizeException, BadPaddingException {
final Cipher cipher = Cipher.getInstance("RSA");
cipher.init(Cipher.ENCRYPT_MODE, publicKey);
return cipher.doFinal(data);
}
public static byte[] decrypt(final byte[] data, final PrivateKey privateKey) throws NoSuchAlgorithmException, NoSuchPaddingException, InvalidKeyException, IllegalBlockSizeException, BadPaddingException {
final Cipher cipher = Cipher.getInstance("RSA");
cipher.init(Cipher.DECRYPT_MODE, privateKey);
return cipher.doFinal(data);
}
}
สมมติว่า เราใช้ Public Key encrypt
และลองใช้ Public Key decrypt
ดู
public static byte[] encrypt(final byte[] data, final PublicKey publicKey) throws NoSuchAlgorithmException, NoSuchPaddingException, InvalidKeyException, IllegalBlockSizeException, BadPaddingException {
final Cipher cipher = Cipher.getInstance("RSA");
cipher.init(Cipher.ENCRYPT_MODE, publicKey);
return cipher.doFinal(data);
}
public static byte[] decrypt(final byte[] data, final PublicKey publicKey) throws NoSuchAlgorithmException, NoSuchPaddingException, InvalidKeyException, IllegalBlockSizeException, BadPaddingException {
final Cipher cipher = Cipher.getInstance("RSA");
cipher.init(Cipher.DECRYPT_MODE, publicKey);
return cipher.doFinal(data);
}
ทดสอบ
final String message = "Hello World";
final byte[] encryptedBytes = encrypt(message.getBytes(), publicKey);
final byte[] decryptedBytes = decrypt(encryptedBytes, publicKey);
จะพบว่ามี Error เกิดขึ้น
Exception in thread "main" javax.crypto.BadPaddingException: Decryption error
การเข้ารหัส/ถอดรหัส จริง ๆ แล้ว เราจะเริ่มจาก Key ประเภทไหน ก็ได้
- ถ้าใช้ Public Key เข้ารหัส ก็ต้องใช้ Private Key ถอดรหัสออกมา
- แต้ถ้าใช้ Private Key เข้ารหัส ก็ต้องใช้ Public key ถอดรหัส
class Cipher สามารถทำได้ทั้ง 2 แบบ
แต่ การส่งข้อมูลที่เป็นความลับให้กันจริง ๆ เราจะใช้ Public Key ของคนที่เราต้องการจะส่งข้อมูลให้ มาเข้ารหัส พอเค้า ได้รับข้อมูล เค้าจะใช้ Private Key เค้าถอดรหัสออกมา
คนอื่นจะถอดรหัสนี้ไม่ได้ เพราะเค้าไม่มี Key ที่สัมพันธ์กัน
ถ้าใครยังไม่รู้จัก JWT (Json Web Token) สามารถอ่านได้จาก
เดี๋ยวเราจะลองใช้ JWT Dependency จาก Auth0 ช่วยในการ Sign / Verify ดู จากลิงค์นี้
เขียน Method Sign
public static String sign(final Map<String, Object> claims, final Algorithm algorithm, final int expiresMinutes) {
final LocalDateTime now = LocalDateTime.now();
final LocalDateTime expires = now.plusMinutes(expiresMinutes);
return JWT.create()
.withIssuedAt(toDate(now))
.withExpiresAt(toDate(expires))
.withClaim("user", claims)
.sign(algorithm);
}
Method sign()
เราจะส่งข้อมูล (Data) ที่ต้องการจะ Sign เข้ามาที่ตัวแปร claims
และ ส่ง Algorithm + เวลาที่ต้องการให้ Token หมดอายุ เข้ามาเป็น Parameter ตัวที่ 2 และ 3
เขียน Method Verify
public static Map<String, Object> verify(final String token, final Algorithm algorithm) {
return JWT.require(algorithm)
.build()
.verify(token)
.getClaims()
.get("user")
.asMap();
}
Method verify()
เราจะส่ง Token ที่ต้องการ Verify เข้าไปผ่านตัวแปร token
และ ส่ง Algorithm ที่ใช้ในการ Verify เข้าไปเป็น Parameter ตัวที่ 2
final Map<String, Object> claims = new HashMap<>();
claims.put("id", 1L);
claims.put("name", "จิตกร พิทักษ์เมธากุล");
claims.put("authorities", Arrays.asList("MANAGE_USER"));
final String token = sign(claims, Algorithm.RSA256(null, privateKey), 30);
final Map<String, Object> output = verify(token, Algorithm.RSA256(publicKey, null));
System.out.println("claims => " + claims);
System.out.println("token => " + token);
System.out.println("output => " + output);
สังเกต
- Method
sign()
ตรง AlgorithmRSA
เราใช้แค่ Private Key และ - Method
verify()
ตรง AlgorithmRSA
เราใช้แค่ Public Key
output
claims => {name=จิตกร พิทักษ์เมธากุล, id=1, authorities=[MANAGE_USER]}
token => eyJ0eXAiOiJKV1QiLCJhbGciOiJSUzI1NiJ9.eyJkYXRhIjp7Im5hbWUiOiLguIjguLTguJXguIHguKMg4Lie4Li04LiX4Lix4LiB4Lip4LmM4LmA4Lih4LiY4Liy4LiB4Li44LilIiwiaWQiOjEsImF1dGhvcml0aWVzIjpbIk1BTkFHRV9VU0VSIl19LCJleHAiOjE1ODM1NjYxNDQsImlhdCI6MTU4MzU2NDM0NH0.R-e4tZJE3PmZXKiSqI5plC2rUrLrUZDI_24ssHtbf18KH7mOSxsIOcvLHsJ-bCyGo3ZcE48N5vTtTOOFxpkfNzWmR_a36Lr-TRXcA2Jf5f5gGYNJeztJYx4ch6OTP9RbCQRCJ3tqCFlvGFqcpRh3E6vdwjp-WfLv-0hECW9AjQKp28UolAIyzhyumlDB78MB-Xf8ryibpMKpQZE5a3JsxAfNTK67T9SrXAfRbEjyA-Iu5lalgU0w1a_lQotwkwq5jH-NWzGPvA6-2SssJfHBhbwYkwZEQo2vMzT_rNCBFQRHshYUOqwbl0KOVcZVouTdEWn1GEA0mlYyvZg0YKG-ow
output => {name=จิตกร พิทักษ์เมธากุล, id=1, authorities=[MANAGE_USER]}
เมื่อเอา Token ไป Verify สังเกต ค่าจากตัวแปร output
จะเห็นว่าเหมือนกับค่าในตัวแปร claims
เป๊ะเลย
package me.jittagornp.learning.keypair;
import com.auth0.jwt.JWT;
import com.auth0.jwt.algorithms.Algorithm;
import java.security.KeyPair;
import java.security.KeyPairGenerator;
import java.security.NoSuchAlgorithmException;
import java.security.interfaces.RSAPrivateKey;
import java.security.interfaces.RSAPublicKey;
import java.time.LocalDateTime;
import java.time.ZoneId;
import java.util.Arrays;
import java.util.Date;
import java.util.HashMap;
import java.util.Map;
/**
* @author jitta
*/
public class JWTExample {
public static void main(String[] args) throws NoSuchAlgorithmException {
//Generate Keypair
final KeyPairGenerator keyPairGenerator = KeyPairGenerator.getInstance("RSA");
keyPairGenerator.initialize(2048);
final KeyPair keyPair = keyPairGenerator.genKeyPair();
final RSAPublicKey publicKey = (RSAPublicKey) keyPair.getPublic();
final RSAPrivateKey privateKey = (RSAPrivateKey) keyPair.getPrivate();
//======================================================================
final Map<String, Object> claims = new HashMap<>();
claims.put("id", 1L);
claims.put("name", "จิตกร พิทักษ์เมธากุล");
claims.put("authorities", Arrays.asList("MANAGE_USER"));
final String token = sign(claims, Algorithm.RSA256(null, privateKey), 30);
final Map<String, Object> output = verify(token, Algorithm.RSA256(publicKey, null));
System.out.println("claims => " + claims);
System.out.println("token => " + token);
System.out.println("output => " + output);
}
public static String sign(final Map<String, Object> claims, final Algorithm algorithm, final int expiresMinutes) {
final LocalDateTime now = LocalDateTime.now();
final LocalDateTime expires = now.plusMinutes(expiresMinutes);
return JWT.create()
.withIssuedAt(toDate(now))
.withExpiresAt(toDate(expires))
.withClaim("user", claims)
.sign(algorithm);
}
public static Map<String, Object> verify(final String token, final Algorithm algorithm) {
return JWT.require(algorithm)
.build()
.verify(token)
.getClaims()
.get("user")
.asMap();
}
private static Date toDate(final LocalDateTime localDateTime) {
if (localDateTime == null) {
return null;
}
return Date.from(localDateTime.atZone(ZoneId.systemDefault()).toInstant());
}
}
บทความนี้ ไม่ใช่มุมมองทางวิชาการเกี่ยวกับการเข้ารหัส/ถอดรหัส แต่เป็นมุมมองที่เกิดจากการที่เคยนำมาเขียนโปรแกรม หรือเคยสัมผัสมาบ้าง หากผิดพลาด หรือตกหล่นตรงไหน ต้องขออภัยและขอคำชี้แนะจากคนที่รู้ลึกด้วยครับ