Skip to content

Latest commit

 

History

History

what-is-apache-maven

Folders and files

NameName
Last commit message
Last commit date

parent directory

..
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

รู้จักกับ Apache Maven

คำศัพท์ที่ต้องรู้

  • Dependency หมายถึง ไลบรารี (Library) ที่โปรเจ็คจำเป็นต้องใช้
  • Build หมายถึง การนำ Source Code ต้นฉบับที่เขียนไว้ พร้อมทั้ง Resources ต่าง ๆ มาคอมไพล์ (Compile) แล้วแพ็ก (Pack) เป็นไฟล์ที่พร้อมนำไปใช้งาน เช่น .jar .war .ear เป็นต้น
  • Deploy หมายถึง การติดตั้ง Source Code ที่เขียนเสร็จแล้ว ให้พร้อมใช้งาน
  • Unit Test เป็นการเขียน Code ทดสอบรูปแบบหนึ่ง
  • Integration Test เป็นการเขียน Code ทดสอบรูปแบบหนึ่ง
  • Plugins หมายถึง โปรแกรมส่วนเสริมต่าง ๆ
  • Proxy ในหัวข้อนี้จะหมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการดาวน์โหลด (Download) และ Cache ข้อมูลต่าง ๆ ที่โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต (Internet)
  • Bandwidth หมายถึง ปริมาณการใช้เน็ตเวิร์ค (Network) หรือ อินเตอร์เน็ต

Apache Maven คืออะไร

Apache Maven อาจเรียกสั้น ๆ ว่า Maven เป็นเครื่องมือตัวนึงที่ช่วยให้นักพัฒนา (Developer) เขียน Java Application ได้ง่ายขึ้น เป็น Project Management Tools ที่คอยอำนวยความสะดวกสบายในการสร้าง Java Project โดยมีความสามารถที่

  • ช่วยในเรื่องการจัดการ Dependencies ต่าง ๆ ให้กับ Java Project (ทำหน้าที่เป็น Dependency Management)
  • ช่วยในเรื่องการ Compile Source Code ทั้งหมดภายในโปรเจ็ค จาก .java ไปเป็น .class ให้โดยอัตโนมัติ
  • ช่วยในเรื่องการ Run Code ทดสอบ เช่น การ Run Unit Test/Integration Test ต่าง ๆ ภายในโปรเจ็ค
  • ช่วยในเรื่องการ Build Project ไปเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการจะนำไปใช้งาน เช่น .jar .war .ear .bundle
  • ช่วยในเรื่องการ Deploy Source Code แบบอัตโนมัติ
  • ช่วยในเรื่องการแบ่งโปรเจ็คออกเป็นระบบโมดูล (การทำ Mutiple Modules)
  • มีโครงสร้างโปรเจ็คที่เป็นมาตรฐาน (Standard)
  • ช่วยในเรื่องการทำโปรไฟล์ (Profile) คือ สามารถ Config ค่าต่าง ๆ สำหรับโปรเจ็ค เพื่อนำไปใช้งานในแต่ละ Environment ที่แตกต่างกันได้
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย ตามที่ระบบ Plugins ของ Maven มีให้ใช้
  • นักพัฒนา สามารถเขียน Maven Plugin ขึ้นมาใช้งานเองได้

ระบบ Dependency Management

ในอดีต ก่อนที่จะมีระบบ Dependency Management เวลาที่เราต้องการ Dependencies ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในโปรเจ็ค เราต้องไปหาโหลด Dependencies นั้น ๆ มาใส่เอง ทำให้เกิดความยุ่งยากตรงที่ บางครั้งก็หาโหลด Dependencies ที่ต้องการไม่ได้ หรือเมื่อหามาได้ ก็ไม่ได้เวอร์ชัน (Version) ตรงตามที่ต้องการ นอกจากนั้นแล้ว ยังวุ่นวายในขั้นตอนการนำไปใช้งานอีก เพราะต้องคอยนำ Dependencies ที่หามาได้ มาใส่ในโปรเจ็คเอง

เมื่อเกิดระบบ Dependency Management ขึ้นมา นักพัฒนาเพียงแค่ทำการกำหนดค่า หรือ Config Dependencies ที่ต้องการลงไปในโปรเจ็ค ระบบ Dependency Management ก็จะทำหน้าที่ไปเอา Dependencies ต่าง ๆ ตามที่ได้ Config ไว้ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตมาใส่ในโปรเจ็คให้เองโดยอัตโนมัติ

ข้อดีของระบบ Dependency Management

  • ระบบจะทำการดาวน์โหลด Dependencies ต่าง ๆ มาให้เอง นักพัฒนาเพียงแค่ทำการเขียน Configuration ต่าง ๆ ลงไปในไฟล์ที่กำหนด
  • ประหยัดพื้นที่ (Storage) ไม่ต้องคอยเก็บ Dependencies ไว้ที่เครื่องของตนเอง เพราะ Dependencies ต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้บนอินเตอร์เน็ต
  • โปรเจ็คมีขนาดเล็กลง เพราะไม่ได้เก็บ Dependencies ไว้ในโปรเจ็ค ทำให้สามารถแชร์ Code ระหว่างกันและกันได้ง่ายขึ้น
  • นักพัฒนาทุกคนจะได้ Dependencies ที่เหมือนกันตามที่เขียน Config ไว้
  • เป็นมาตรฐานให้ทุกคนใช้งานเหมือนกัน
  • ลดระยะเวลาในการพัฒนาระบบ

ระบบ Dependency Management ไม่ได้มีเพียงแค่ภาษา Java เท่านั้นที่ใช้ ทุกวันนี้ภาษาโปรแกรมมิ่ง (Programming Languages) อื่น ๆ ก็มีระบบ Dependency Management เป็นของตนเอง เช่น

Repository

Repository ใน Maven หมายถึง ที่ที่ระบบ Dependency Management ใช้เก็บ Dependencies หรืออาจเรียกได้ว่า เป็นคลังเก็บ Dependencies แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. Central Repository
  2. Remote Repository
  3. Local Repository

Central Repository

เป็น Repository กลางที่ทาง Maven สร้างขึ้น เพื่อให้นักพัฒนาทั่วโลกสามารถเอา Dependencies หรือ Code ที่ตนเองเขียนไปวางไว้ เพื่อแชร์ให้นักพัฒนาคนอื่น ๆ สามารถนำ Dependencies นั้น ๆ ไปใช้งานได้ฟรี ซึ่งการนำไปวางจะต้องทำการลงทะเบียน (Register) ตามข้อกำหนดของ Maven

Remote Repository

เป็น Repository ที่องค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ สร้างขึ้นมาใช้งานเอง เพื่อแชร์ Dependencies ให้กับนักพัฒนา

  • บาง Repository ก็ทำขึ้นมาเชิงธุรกิจ คือ เสียตังค์เพื่อโหลด Dependencies
  • บาง Repository ก็เปิดให้นักพัฒนาสามารถโหลด Dependencies ไปใช้งานได้ฟรี
  • บาง Repository ก็ทำขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็น Proxy ไว้คอย Cache Dependencies ต่าง ๆ ที่โหลดมาจาก Central Repository หรืออินเตอร์เน็ต เพื่อลด Bandwidth ในการใช้งาน เพราะจะโหลดจากอินเตอร์เน็ตมาแค่ครั้งเดียว จากนั้นเครื่องของนักพัฒนาคนอื่น ๆ ก็จะมาโหลดที่ Remote Repository นี้แทน

Local Repository

เป็น Repository ในเครื่องของนักพัฒนา โดยปกติจะอยู่ที่โฟลเดอร์ .m2 ใน Home Directory ของผู้ใช้ (Default) เช่น ถ้าใช้งานระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่เป็น (Microsoft) Windows

Home Directory ของผู้ใช้จะเป็น C:\Users[ชื่อผู้ใช้งาน] เช่น C:\Users\jitta

ซึ่ง .m2 จะอยู่ที่ C:\Users\jitta.m2 (แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้)

Local Repository มีหน้าที่ไว้คอย Cache หรือเก็บ Dependencies ต่าง ๆ ที่โหลดมาจาก Central Repository หรือ Remote Repository แล้วนำมาเก็บไว้ในเครื่องของนักพัฒนา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปโหลดมาใหม่อีกครั้ง

การทำงานของ Maven Repository แบบธรรมดาทั่ว ๆ ไป

การทำงานของ Maven Repository กรณีที่ใช้ Remote Repository ทำหน้าที่เป็น Proxy

โครงสร้างโปรเจ็ค (Project Structure)

เมื่อเราใช้ Apache Maven ช่วยในการสร้าง Java Project หน้าตาคร่าว ๆ ของโปรเจ็คจะมีลักษณะเป็นดังนี้

ภายใน maven-project จะประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ 3 ส่วน คือ

  1. โฟลเดอร์ src เป็นโฟลเดอร์ที่เอาไว้เก็บ Source Code ต้นฉบับที่ถูกเขียนไว้
  2. โฟลเดอร์ target เป็นโฟลเดอร์ที่เอาไว้เก็บ Output Result ที่พร้อมนำไปใช้งาน หลังจากที่ทำการ Build Code ต้นฉบับที่เก็บไว้ในโฟลเดอร์ src แล้ว
  3. ไฟล์ pom.xml เป็น Maven Configuration ของโปรเจ็ค

เมื่อขยายออก

จะพบว่าข้างในโฟลเดอร์ src และโฟลเดอร์ target มีโฟลเดอร์อื่น ๆ ซ้อนอยู่อีกมากมาย ซึ่งเมื่อพัฒนาโปรเจ็คไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้มีไฟลเดอร์และไฟล์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาอีก

ผู้เขียนขอให้ผู้อ่านโฟกัส (Focus) ดังนี้ เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างหลัก ๆ ของ Maven

  • maven-project คือ ชื่อโปรเจ็ค หรือ Root Folder ของโปรเจ็ค
  • src เป็นที่เก็บ Source ต้นฉบับ ประกอบด้วย
    • main เป็นส่วนหลักของโปรแกรม ที่จะทำงานจริง ๆ
      • java เป็นที่เก็บไฟล์นามสกุล .java (สามารถมีโฟลเดอร์ย่อยลงไปอีกได้ เป็น Java Package)
      • resources เป็นที่เก็บไฟล์ หรือ Resources ต่าง ๆ ที่ .java เรียกใช้งาน เช่น ไฟล์ Configuration ต่าง ๆ
    • test เป็นส่วนที่ใช้สำหรับทดสอบ (Test) โปรแกรม
      • java เป็นที่เก็บไฟล์นามสกุล .java สำหรับ Test โปรแกรม
      • resources เป็นที่เก็บไฟล์ หรือ Resources ต่าง ๆ ที่ .java ของ Test เรียกใช้งาน (คล้าย ๆ กับ /src/main/resources แต่เป็น /src/test/resources)
  • target เป็นที่เก็บ Output Result ที่ถูก Build เสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมนำไปใช้งาน
  • pom.xml เป็นไฟล์ที่ใช้เป็น Configuration หลักของ Maven สำหรับโปรเจ็คนี้

ภายใต้ /src/main/java

Output Result ที่พร้อมนำไปใช้งาน ในที่นี้ Build เป็นไฟล์ .jar

pom.xml

ไฟล์ pom.xml ถือเป็นหัวใจ หรือ Core ของ Apache Maven ใน 1 Java Project จะมีไฟล์ pom.xml เพียงไฟล์เดียว วางอยู่ใน Root โฟลเดอร์ของโปรเจ็คเป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับกำหนดค่า Configuration ต่าง ๆ ให้กับโปรเจ็คที่สร้างโดยใช้ Maven

หน้าตาข้างในของไฟล์ pom.xml

ไฟล์นี้ถูกเขียนขึ้นด้วยไวยากรณ์ (Syntax) XML (Extension Markup Language) ซึ่งประกอบด้วยแท็ก (Tag) </> ต่าง ๆ มากมาย เมื่อพิจารณาตามรูปแบบการ Config และการใช้งาน จะสามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้

จริง ๆ จะมีแท็กมากกว่านี้ แต่แท็กหลัก ๆ ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ จะมีประมาณนี้

  • Project Information เป็นส่วนที่ใช้สำหรับอธิบายข้อมูลสำคัญของโปรเจ็ค เช่น
    • groupId คือ id ของกลุ่มโปรเจ็ค หรือ Name Space ของโปรเจ็ค ใช้เพื่อบอกว่า โปรเจ็คนี้ จัดอยู่ในกลุ่ม Code ชุดใด ปกติจะใช้เป็น Reverse Domain Name
    • artifactId คือ id ของโปรเจ็ค จะต้องเป็น Unique คือ artifactId นึงต้องไม่ซ้ำกันใน groupId นั้น ๆ แต่สามารถซ้ำกับ groupId อื่น ๆ ได้
    • version คือ เวอร์ชันปัจจุบันของโปรเจ็ค
  • Output Result เป็นส่วนที่เอาไว้กำหนดรูปแบบของ Output ไฟล์ ว่าหลังจากที่ทำการ Build โปรเจ็คเสร็จแล้ว จะนำไฟล์รูปแบบไหนไปใช้งาน เช่น .jar .war .ear .bundle เป็นต้น
  • Module เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกำหนดค่าโปรเจ็คแบบโมดูล ซึ่ง Maven สามารถเขียน Code โดยการแบ่งออกเป็นโมดูลต่าง ๆ แล้วแชร์ (Share) Code ร่วมกันได้ (ระบบ Module สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเรื่อง Maven Multiple Modules โดยสามารถดูตัวอย่างการ Config ได้จากโปรเจ็คนี้ https://github.com/pamarin-tech/commons)
  • Properties เป็นส่วนที่เอาไว้กำหนดค่า Configuration ต่าง ๆ ของโปรเจ็ค
  • Dependencies เป็นส่วนที่เอาไว้กำหนด Dependencies ที่โปรเจ็คจำเป็นต้องใช้
  • Build เป็นส่วนที่เอาไว้กำหนดค่าต่าง ๆ เกี่ยวกับการ Build โปรเจ็ค เช่น
    • plugins จะใช้ Plugins อะไรบ้างในระหว่างที่ทำการ Build
    • profile สามารถกำหนด Configuration Profile ในระหว่างที่ทำการ Build เพื่อนำไปใช้งานในแต่ละ Environment ที่แตกต่างกันได้
  • และอื่น ๆ

การทำงานของ Apache Maven

เมื่อสร้างโปรเจ็คด้วย Apache Maven เราจะได้โปรเจ็คที่มีโครงสร้างเป็นแบบนี้

ทั้ง 2 ภาพเป็นโปรเจ็คเดียวกัน (ต่างกันแค่มุมมอง)

หากต้องการ Dependencies เพื่อใช้ในโปรเจ็ค ก็ให้ทำการ Config ลงไปในไฟล์ pom.xml ในส่วนของ dependencies ดังนี้

จากนั้นทำการ Build Project

Maven จะทำการโหลด Dependencies จาก Central Repository หรือ Remote Repository เข้ามาใส่ในโปรเจ็คให้โดยอัตโนมัติ

Dependencies ที่โหลดเข้ามาในโปรเจ็คอาจจะมีมากกว่าที่ Config ไว้ เนื่องจาก Dependencies นึงอาจโหลด Dependencies อื่น ๆ พ่วงเข้ามาด้วย

และเก็บ Dependencies นี้ไว้ใน Local Repository (.m2) ด้วย เพื่อ Cache ไว้ใช้งานในครั้งถัดไป

ในระหว่างการ Build Maven จะทำการ Compile Source Code (.java) ทั้งหมดที่อยู่ใน /src/main/java ไปเป็น .class ให้โดยอัตโนมัติ แล้วนำไปไว้ภายใต้ /target/classes

พร้อมทั้ง Copy Resources ที่อยู่ใน /src/main/resources ไปไว้ภายใต้ /target/classes ด้วย

จากนั้นทำการ Run Code ทดสอบ (Test ต่าง ๆ) ตามที่เราเขียนไว้ โดยอัตโนมัติ

ต่อมาทำการ Pack โปรเจ็คให้อยู่ในรูปแบบของ Output Result ตามที่เราได้กำหนดไว้ใน pom.xml และเก็บ Output นั้นไว้ในโฟลเดอร์ /target

เมื่อต้องการนำโปรเจ็คไป Deploy ก็นำไปแค่ไฟล์ .jar ไปใช้งาน

และไฟล์ .jar นี้ยังสามารถเป็น Dependencies ให้กับโปรเจ็คอื่น ๆ เรียกใช้งานได้อีกต่อไปด้วย

Command Line

สามารถเรียนรู้ได้จากบทความ

หมายเหตุ

เป็นบทความที่ถูกย้ายมาจาก https://coderunnerth.co/2018/12/05/รู้จักกับ-apache-maven/ ซึ่งผู้เขียน เขียนไว้เมื่อ ธันวาคม 5, 2018