synchronized "เป็น keyword หนึ่งของภาษา java ที่ไว้ใช้สำหรับยืนยันว่า ณ ขณะนั้นจะมีเพียง thread เดียว หรือ 1 thread เท่านั้นที่กำลังทำงาน ในส่วนที่เราต้องการให้ทำ" ส่วนที่ว่าหรือส่วนที่เราต้องการให้ทำนั้น อาจจะเป็น method หรือ synchronized block
ความหมายมันอาจจะดูงงๆ อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ เรามาดูของจริงกันดีกว่าครับ อันนี้ขอยกตัวอย่างเป็น synchronized method ของ instance น่ะครับ
ผมทำการสร้าง class Counter ขึ้นมา เพื่อทดสอบการทำงาน ดังต่อไปนี้ (ยังไม่มี synchronized)
Counter.java
package me.jittagornp.learning.javasync;
/**
* @author jittagornp
*/
public class Counter {
private int value = 0;
public void increase(){
for(int i=0; i<10; i++){
value = value + 1;
System.out.println("value => " + value + " : thread => " + Thread.currentThread().getName());
}
}
}
class Counter มีอยู่ method เดียว (increase) และมี attribute เดียว (value) ซึ่งผมจะทำการทดสอบง่ายๆ โดยการใช้ increase method สำหรับเพิ่มค่า attribute value จากนั้นก็แสดงค่า value พร้อมกับ thread ปัจจุบันออกมาดูว่า thread ไหนที่เป็นตัว access method นั้นอยู่
ต่อมา สร้าง class สำหรับทดสอบ
Main.java
package me.jittagornp.learning.javasync;
/**
* @author jittagornp
*/
public class Main implements Runnable{
private Counter counter = new Counter();
public static void main(String[] args) {
Main main = new Main();
Thread A = new Thread(main, "A");
Thread B = new Thread(main, "B");
A.start();
B.start();
}
public void run() {
counter.increase();
}
}
class Main implements Runnable เพื่อให้ thread เรียกใช้งาน ที่ run method ซึ่งก็คือเรียกใช้ counter.increase();
ที่ main method ทำการสร้าง instance ของ class Main ขึ้นมา 1 instance
Main main = new Main();
จากนั้นสร้าง thread ขึ้นมา 2 ตัว คือ
Thread A = new Thread(main, "A");// ชื่อ A
Thread B = new Thread(main, "B"); //ชื่อ B
เพื่อใช้งาน instance main (parameter แรก) จากนั้นก็สั่งให้ thread A และ B ให้เริ่มทำงาน ด้วยคำสั่ง
A.start();
B.start();
ลอง run program ดูครับ แล้วสังเกตผล
จากภาพจะเห็นว่า ณ เวลาเดียวกัน increase method ถูก thread 2 ตัว access แต่ใน increase method ผมเขียนไว้ว่า ให้วนลูป
for(i=0; i<10;i++) (10 รอบ)
แต่ยังวนลูปไม่ถึง 10 รอบเลย ก็ถูก thread ตัวอื่นเข้ามาแทรกแล้ว จะเห็นว่า thread A กับ thread B สลับการทำงานกันไปมา ทั้งๆ ที่ thread B access ตัวแรก แต่ thread B ยังทำงานไม่เสร็จเลย (ยังไม่ถึง 10 รอบ) ก็ถูก thread A แทรกมาทำงานแทนแล้ว
บางครั้ง เราอาจมีการทำงานบางอย่างที่ต้องการให้มันเป็นไปตาม step ของมัน ไม่ใช่กระโดดข้ามหรือสลับกันไปมา เช่น การเพิ่มค่าที่ยกตัวอย่างให้เห็น ซึ่งมันควรที่จะเป็น 1 2 3 4 5 6 7 .... 20 แต่จากตัวอย่างจะเห็นว่า มันไม่เป็นไปตามลำดับเลย จึงอาจทำให้การทำงานของ program นั้นผิดพลาดไปก็ได้
แล้วเราจะทำยังไงล่ะ ให้มันเป็นไปตามลำดับ ในเมื่อ program แบบ multithread มันก็ทำงานแบบนี้อยู่แล้ว คือ thread หลายตัวทำงานไปพร้อมๆกัน ซึ่งถือว่าป็นเรื่องปกติของมันครับ
แต่ logic บางอย่างเราไม่ต้องการให้มันเป็นแบบนี้น่ะสิครับ อย่างอื่นก็ทำงานอิสระของใครของมันไป แต่พอมาถึงเรื่องของการเพิ่มค่า ก็ควรที่จะเพิ่มไปตาม step เท่านั้น ห้ามกระโดด ห้ามสลับไปสลับมา ไม่งั้นการทำงานของ program ผิดแน่นอน
ด้วยปัญหานี้ จึงนำไปสู่การแก้ปัญหา multithread โดยการใช้ synchronized keyword ครับ
ทีนี้เราลองมาแก้ increase method ของ class Counter กันใหม่ โดยการใส่ synchronized keyword ไว้หน้า method ครับ ดังนี้
public synchronized void increase(){
for(int i=0; i<10; i++){
value = value + 1;
System.out.println("value => " + value + " : thread => " + Thread.currentThread().getName());
}
}
จากนั้น ลอง run class Main ดูอีกครั้ง แล้วสังเกตผลลัพธ์ ซึ่งจะเป็นดังนี้ครับ
จะเห็นว่า thread A ทำงานก่อน โดยการวนลูปจนครบ 10 รอบ แล้ว thread B ค่อยตามมาทำงานในภายหลังอีก 10 รอบ ซึ่งมีการทำงานเป็น 1 2 3 4 5 6 7 ... 20 ตามลำดับ โดยไม่กระโดดข้ามกันไปมา เหมือนก่อนหน้านี้
เหตุผลที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า synchronized keyword จะเป็นตัวยืนยันว่า ณ ขณะนั้นจะมีเพียง thread เดียว หรือ 1 thread เท่านั้นที่กำลังทำงาน ในส่วนที่เราต้องการให้ทำ (increase method) อย่างที่ผมได้เขียนไว้ตั้งแต่แรก
มันจะ block increase method ให้ thread A โดยให้ thread B รอ (wait) จนกว่า thread A จะทำงานเสร็จ thread B จึงจะมีสิทธิ์เข้าใช้งาน increase method ครับ
synchronized ในลักษณะอื่นๆ ลองไปหาอ่านกันเอาเองน่ะครับ เช่น synchronized block, synchronized static method, ... อันนี้ประมาณว่า แค่แนะนำหรือเกริ่นให้เห็นภาพครับ จะได้นำไปต่อยอดได้ โดยบทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้เข้าใจ basic มันว่ามันคืออะไร เอาไว้ใช้ทำอะไรครับ
เป็นบทความที่ถูกย้ายมาจาก https://na5cent.blogspot.com/2013/08/synchronized-keyword-in-java.html ซึ่งผู้เขียน เขียนไว้เมื่อ วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556