Skip to content

Latest commit

 

History

History

install-docker-neo4j-graph-database-on-ubuntu-18.04

ติดตั้ง Neo4j Graph Database ด้วย Docker บน Ubuntu 18.04

ทำความรู้จักกับ Neo4j

Neo4j เป็น Graph Database ยี่ห้อนึง

ที่มีทั้งแบบ Free และแบบเสียตังค์

  • แบบ Free เราจะเรียกว่า Community Edition
  • แบบ เสียตังค์ เราจะเรียกว่า Enterprise Edition

ต่างกันที่

  • แบบ Free จะมีการจำกัดจำนวนของ Nodes, Relations, Properties และ Features บางอย่าง ให้ใช้งานได้อย่างจำกัด
  • แต่แบบเสียตังค์ จะเป็น Ulimited พร้อม Feaure อื่น ๆ

การติดตั้งด้วย Docker ในบทความนี้ เราจะใช้ Image จาก Official https://hub.docker.com/_/neo4j

แบบ Free และแบบเสียตังค์ จะต่างกันตรง Image Tag

ถ้าแบบเสียตังค์ Image Tag จะมี -enterprise หรือ enterprise ต่อท้าย

ซึ่งในบทความนี้ เราจะติดตั้งกันเป็นแบบ Free ด้วย Image neo4j:latest

Prerequisites

ติดตั้ง

$ docker run -d \
--name neo4j \
-p 7474:7474 -p 7687:7687 \
-v $HOME/neo4j/data:/data \
-v $HOME/neo4j/logs:/logs \
-v $HOME/neo4j/import:/var/lib/neo4j/import \
-v $HOME/neo4j/plugins:/plugins \
--env NEO4J_AUTH=<DATA_BASE_USERNAME>/<DATA_BASE_PASSWORD> \
--env NEO4J_dbms_connector_https_advertised__address="<SERVER_IP>:7473" \
--env NEO4J_dbms_connector_http_advertised__address="<SERVER_IP>:7474" \
--env NEO4J_dbms_connector_bolt_advertised__address="<SERVER_IP>:7687" \
neo4j:latest

ดูผลลัพธ์

$ docker ps -a

อธิบาย

1. Expose Ports

เวลาติดตั้ง Neo4j เราจะต้อง Expose Port อย่างน้อย 2 Ports จากทั้งหมด 3 Ports เพื่อ Remote Access คือ

  • 7474 for HTTP (สำหรับเข้าสู่หน้า Neo4j Browser แบบ Http)
  • 7473 for HTTPS (สำหรับเข้าสู่หน้า Neo4j Browser แบบ Https)
  • 7687 for Bolt (สำหรับ Neo4j Database Connection)

จาก Script เรา Expose แค่ 2 Ports เนื่องจาก เราไม่ได้เปิด Https

ถ้าจะทำ Https เราต้องทำเพิ่มเติมเอง ซึ่งตาม Default แล้ว Docker Image นี้ไม่ได้มี Https มาให้

2. Mount Volumes

  • $HOME/neo4j/data:/data (สำหรับเก็บ Data ออกมาไว้นอก Container)
  • $HOME/neo4j/logs:/logs (สำหรับเก็บ Log ไว้นอก Container)
  • $HOME/neo4j/import:/var/lib/neo4j/import (สำหรับเก็บพวก CSV file หรือ Script ต่าง ๆ ที่เราต้องการนำไป import เข้า Database)
  • $HOME/neo4j/plugins:/plugins (สำหรับเก็บ Plugins ต่าง ๆ)

3. กำหนด Env Config

กำหนด Default Username/Password สำหรับ Login เข้า Database

--env NEO4J_AUTH=<DATA_BASE_USERNAME>/<DATA_BASE_PASSWORD>

ถ้าไม่ต้องการให้มี Username/Password ก็ให้กำหนดเป็น

--env NEO4J_AUTH=none

กำหนด Configuration ต่าง ๆ สำหรับ Neo4j Browser (เป็น Tool สำหรับ Query Data บน Browser คล้าย ๆ phpMyAdmin)

--env NEO4J_dbms_connector_https_advertised__address="<SERVER_IP>:7473"
--env NEO4J_dbms_connector_http_advertised__address="<SERVER_IP>:7474"
--env NEO4J_dbms_connector_bolt_advertised__address="<SERVER_IP>:7687"

ถ้าเราไม่กำหนด เวลาเปิด Neo4j Browser ด้วย IP อื่น ๆ จะทำให้ ไม่สามารถ Login หรือ Query data จาก Database ได้ เนื่องจาก Connection จะ Default เป็น localhost

หมายเหตุ

ถ้าใครใช้งาน Docker ไม่คล่อง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก พื้นฐาน Docker

เปิด Neo4j Browser

เมื่อ Run Container เสร็จ ลองเข้าไปที่

http://<SERVER_IP>:7474

จากนั้น Connect ด้วย Username/Password ตามที่กำหนดไว้

เข้าใช้งานได้ปกติ

ลอง Run Data

ใช้ Data จากลิงค์นี้

ลอง Run ดู (อย่าลืม Bookmark ตรงรูปดาวไว้ด้วย)

ลอง Query ข้อมูลด้วยภาษา Cypher ดู

MATCH (node) 
RETURN node 
LIMIT 10

ผลลัพธ์

ลองเขียน Code ต่อ Database ดู

เพิ่มเติม

ถ้าใครอยากลองเล่น Neo4j แบบไม่ต้องติดตั้ง สามารถเข้าไปลองเล่นได้ที่ https://sandbox.neo4j.com/

Reference